การแข่งขัน ในเกาหลีใต้นั้นขึ้นชื่ออย่างมาก เพราะผู้คนต่างห่วงภาพลักษณ์ตัวเอง กลัวว่าคนนั้นจะดีกว่า กลัวว่าคนนี้จะมีเยอะกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน, เรื่องงาน, ครอบครัว, ฐานะ แม้กระทั่งเรื่องส่วนตัวก็ตาม
ความกดดัน + ความตึงเครียดในชีวิต ทำให้ผู้คนในดินแดนโสมขาว แทบจะไม่สามารถใช้ชีวิตนอกกรอบได้เลย นี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ South Korea มีอัตราการจบชีวิตตัวเองสูงที่สุดในโลก วันหนึ่งมีประมาณ 40 คนต่อวัน
การแข่งขัน + แรงกดดัน ทำให้คนรุ่นใหม่แบกภาระไว้บนบ่า
ความทุกข์ระทมของวัยรุ่นหนุ่มสาวในดินแดนโสมขาว กำลังอยู่ในช่วงที่หนักหนาสาหัส เพราะพวกเขาเหล่านั้น ต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้งไว้บนบ่า จากคำพูดที่ถูกปลูกฝังมาว่า จะต้องเข้าเรียนแต่โรงเรียนดีๆ
ติดมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของ South Korea เท่านั้น บทความนี้วันนี้จึงอยากจะมาตีแผ่อีกด้านหนึ่ง ด้านที่มีส่วนทำให้ประชากรเกิดการบูลลี่กัน เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน รับรองว่าคุณจะได้สาระจากบทความวันนี้
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกาหลีใต้ มี การแข่งขัน สูง ?
South Korea เป็นประเทศที่เหล่าเด็กๆ ถูกปลูกฝังให้มีแนวคิดเหมือนประเทศไทยที่ว่า “ถ้าเรียนจบมหาวิทยาลัยสูง จะได้มีงานทำดีๆ ยิ่งเรียนเก่งก็ยิ่งมีอนาคต” คำพูดนี้ทำให้เราคิดได้หลายมุมมอง แต่ประชากรของดินแดนโสมขาว พวกเขาจะคิดไปอีกแบบหนึ่ง
คำพูดเหล่านี้แหละที่ทำให้พวกเขาต้องลุกขึ้นสู้ในการใช้ชีวิต เอาตัวเองให้อยู่รอดจากสังคม สภาพแวดล้อม ผู้คน เศรษฐกิจ ถ้าเมื่อไหร่ที่คิดยอมแพ้ขึ้นมา อาจจะกลายเป็นคนไร้บ้านได้ ข้อมูลตอนนี้มีประชากร 1 ใน 3 กลายเป็นคนไร้บ้าน
นี่คือแรงกดดันที่มันฝังรากลึก ทั้งในแง่ของสังคม หรือวัฒนธรรมที่มันมากจนเกินไป ทำให้ผู้คนทุกวัยต้องแบกรับภาระค่านิยม ทางสังคมเอาไว้บนบ่า พวกเขาหวังแค่เพียงว่าสักวันมันจะดีขึ้น รัฐบาลจะช่วยแก้ไขในส่วนนี้ แต่กลับกลายเป็นทุกคนเองที่จะต้องทนอยู่กับปัญหานี้ [1]
การแข่งขัน สูงในเกาหลีใต้ เป็นสภาวะไม่พึงปรารถนา
เคยได้ยินคำพูดนี้หรือไม่ว่า “นรกไม่ใช่สถานที่แต่มันคือผู้คน” [2] ตั้งแต่ที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 คืบคลานเข้ามายังประเทศเกาหลีใต้ในปี 2020 มันได้สร้างความสูญเสียต่อร่างกาย ชีวิต จิตใจ รวมถึงเศรษฐกิจโลก
วิกฤตนี้จึงทำให้เกิดปัญหาหลายด้านตามมา ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำ, การว่างงาน, สิทธิมนุษยชน, ความเครียดวิตกกังวล ลามไปถึงเกิดการแก่งแย่งชิงดีกัน บางคนจบชีวิตตัวเองลง
สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ประชากรดินแดนโสมขาวเริ่มไม่มั่นใจ และรู้สึกไม่มั่นคงต่อประเทศบ้านเกิดตัวเอง “นรกโชซ็อน” เป็นคำที่วัยรุ่นหนุ่มสาวคิดขึ้นมาเองในโลกไซเบอร์ เพื่อเป็นการระบายความในใจ
ต่อการใช้ชีวิตอย่างสิ้นหวัง ในสังคมที่พร้อมถาโถมใส่คุณทุกรอบด้าน ไม่ว่าจะสภาวะแข่งขัน, การว่างงาน, ระบบอาวุโส. ค่านิยมฉาบฉวย, ลำดับฐานะ อะไรเหล่านี้ถ้าคนที่เกิดมาแล้วได้คาบช้อนทอง ก็คงจะไม่ต้องมาเจอสภาวะโหดร้ายเช่นนี้
สังคมปัจจุบันมันได้บดขยี้ให้ประชากรทุกคน ต่อสู้ในวัยทำงานเพื่อมีครอบครัวต่อไป แต่หัวใจของพวกเขากำลังว่างเปล่า ไร้เป้าหมาย มีชีวิตอยู่เพื่อทำงาน นอน ทำงาน
สภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ไม่รู้ว่า การแข่งขัน จะสิ้นสุดเมื่อไหร่
สภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจของ South Korea ทำให้เกิดปัญหาหลายด้านตามมา ทั้งการบูลลี่ การนินทา การยื้อแย่งตำแหน่งโต๊ะทำงาน การจบชีวิตตัวเอง เป็นต้น
มันถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล จะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง เพราะหากยังปล่อยทิ้งล้างไว้นาน สภาพสังคม รวมถึงสภาพจิตใจของประชากร ก็จะไร้สิ้นความหวังที่อยากมีชีวิตที่ดี
การแข่งขัน ทำให้ผู้คนยกธงขาว (ยอมแพ้)
มีหลายคนเลยล่ะที่เลือกยกธงขาว ในการใช้ชีวิตในประเทศเกาหลีใต้ ด้วยเหตุผลหลายประการ
- พื้นฐานครอบครัว = เมื่อรายได้ของครอบครัวเป็นตัวชี้วัดว่า เราคาบช้อนทอง หรือคาบช้อนดิน ในดินแดนโสมขาวใครที่เกิดมาร่ำรวยตั้งแต่เกิด ถือว่าโชคดีมาก แต่ถ้าเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน คุณจะต้องดิ้นรนทำเพื่อตัวเอง (ไม่มีเงินก็ไม่มีหวัง)
- อัตราการเกิดต่ำ = การมีลูก มีครอบครัว ความรับผิดชอบที่ตามมาคือ “ภาระค่าใช้จ่าย”
- ความไม่เท่าเทียมทางเพศสูง = เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมทางเพศสูงมาก มีการแสดงออกทางสีหน้า คำพูดทางเพศอย่างชัดเจน
- อัตราการว่างงานของเยาวชน = เด็กจบใหม่กำลังเจอกับวิกฤตการว่างงาน นับว่าเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
- ค่าครองชีพที่สูงขึ้น = CCEJ วิเคราะห์ว่า คนโสมขาวต้องใช้เวลาถึง 25 ปี ในการซื้ออพาร์ทเม้นท์ขนาด 99 ตร.ม.
- แรงกดดันทางสังคม = South Korea เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง มากกว่าชื่อเสียงของตัวเอง พวกเขาจึงต้องเผชิญกับการแข่งขันมาตั้งแต่น้อย ความกดดันจากสังคม + การเรียน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่คนส่วนใหญ่จบชีวิตตัวเอง แต่บางคนเลือกที่จะย้ายประเทศ
การแข่งขัน ในเกาหลีใต้ทำให้นอนไม่หลับ อัตราสูงติดอันดับโลก
South Korea อย่างที่รู้กันว่าขึ้นชื่อในเรื่องของสภาวะแข่งขัน จนประชากรต้องแบกความเครียด ความกดดัน ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ปัญหาสุขภาพที่ตามมาคือ “การนอนไม่หลับ”
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565 BBC รายงานว่า สภาวะแข่งขันที่สูงและซีเรียสจนเกินไป ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ติดอันดับ ที่มีผู้คนประสบปัญหาการนอนมากที่สุดในโลก จึงทำให้เกิดติดยานอนหลับนับแสนคน
ถึงแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่วัฒนธรรมยังคงเป็นรูปแบบเดิม คนรุ่นใหม่จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่จะย้ายออกจากบ้านเกิด อย่างที่เขาพูดกัน คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า คนไทยอย่างเราถ้าต้องการจะย้ายไปอยู่จริงๆ คงจะต้องคิดทบทวนกับตัวเองให้ดี [3]
เปรียบเทียบ การแข่งขัน ในเกาหลีใต้กับไทยยังไง ให้เห็นภาพชัดเจน ?
สำหรับการเปรียบเทียบในวันนี้ เราจะยกประเทศไทยมาอีกเช่นเคย เราจะมาดูพร้อมกันไปเลย ระหว่างความแตกต่างของ 2 ประเทศนี้ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เห็นภาพ หรือนึกภาพตามได้ มาเริ่มดูการเปรียบเทียบได้จากหัวข้อต่อจากนี้
การแข่งขัน ในเกาหลีใต้ & ประเทศไทย ต่างกันอย่างไร ?
- ประเทศเกาหลีใต้ = จัดว่าเป็นสถานที่หนึ่ง ที่ติดอันดับในเรื่องของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเรื่องเรียน, หน้าที่การงาน, ลำดับฐานะ ทุกเรื่องของดินแดนโสมขาว ผู้คนสามารถยกมาแข่งกันได้ แม้กระทั่งการใช้ของแบรนด์เนม, การมีแฟน, การมีหน้าตาที่สวย ใครที่สวยเกินไปจนเป็นที่สะดุดตา มักจะโดนผู้ไม่ประสงค์ดีว่าร้ายในโลกไซเบอร์
- ประเทศไทย = ส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่ถ้าพูดกันตามความจริง คนอายุน้อยที่ประสบความสำเร็จ มักได้ดีเพราะขยันซะมากกว่า แถมมีผู้ใหญ่คอยช่วยหนุนจะดีขึ้นไปอีก ไทยขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ชิล ไม่งั้นคนเกาหลีจะไม่พูดเหมือนกันว่า ทำไมคนไทยใช้ชีวิตชิลกันขนาดนี้ ไม่ต้องคอยแข่งกับใคร อยู่ใครอยู่มัน ค่าครองชีพก็ไม่สูงปรี๊ด
ความคิดเห็นต่อ การแข่งขัน ในเกาหลีใต้
ทาง Pet Noi (ผู้เขียนบทความ) มีความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า การที่ประชากรได้ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องแข่งขัน อาจจะช่วยให้สภาวะจิตใจ สภาวะสุขภาพของคนในชาติดีขึ้น อยากให้รัฐบาลเร่งมือแก้ไขปัญหานี้
เพื่อที่จะลดข่าวการจบชีวิตตัวเอง หรือข่าวการบูลลี่ลงได้ อย่างน้อยก็ควรลดหย่อนวัฒนธรรมให้เบาบางลง ผู้คนจะได้กล้าแสดงออก กล้าที่จะพูดสิ่งในใจออกมา แค่เพียงส่วนน้อยนิดนี้ อาจทำให้ชีวิตของใครต่อใครดีขึ้นกว่าเดิมได้
สรุป การแข่งขัน In South Korea
ถ้าคุณกำลังเป็นคนที่ประสบพบเจอกับปัญหานี้อยู่ ทางเรามีคำพูดจากใจให้คุณ “ไม่เป็นไรหากจะพักผ่อน ไม่เป็นไรหากจะล้มเหลว” ใครที่กำลังท้อใจกับสภาวะแข่งขันทางสังคม ขอให้ฟื้นฟูใจตัวเองด้วยการหาสถานที่พักผ่อน ทำในสิ่งที่ชอบสัก 1 วัน เล็กน้อยเหล่านี้อาจช่วยคุณใจฟูได้
อ้างอิง
[1] ประชาไท. (October 31, 2017). Reach for the SKY: เพราะเป็นวัยรุ่นเกาหลีนั้นเจ็บปวด. Retrieved from ประชาไท
[2] The 101 .World. (July 20, 2021). นรกไม่ใช่สถานที่แต่คือผู้คน: สำรวจนรกโชซ็อนของหนุ่มสาวเกาหลี. Retrieved from The 101 .World
[3] ประชาชาติธุรกิจ. (April 7, 2022). ทำไมคนเกาหลีใต้นอนไม่หลับมากที่สุดในโลก นับแสนต้องกินยาช่วยจนติด. Retrieved from ประชาชาติธุรกิจ