เคนจุตสึ (Kenjutsu) ศิลปะแห่งการใช้ดาบคาตานะ ที่ถือกำเนิดขึ้นจาก ชนชั้นซามูไร ซึ่งต่างจากเคนโด้ตรงที่ เน้นต่อสู้จริงมากกว่าประลอง และมักสอนควบคู่ไปกับ อิไอโด (Iaido) หรืออิไอจุตสึ (Iaijutsu) ส่วนข้อมูลอื่นๆ เราจะพาไปรู้จัก
แนะนำให้รู้จัก เคนจุตสึ / 剣術
剣術 หมายถึง วิธีการ เทคนิค หรือศิลปะแห่งดาบญี่ปุ่น ซึ่งหลายคนมักสับสนกับ “เคนโด้ (Kendo) ” ที่หมายถึง วิถีแห่งดาบ ซึ่งรวมถึงดาบไม้ไผ่ (ชิไน) และเกราะป้องกัน (โบกู) แต่สามารถเรียกรวมๆ ศิลปะการต่อสู้ โคบูโดของญี่ปุ่นทั้งหมดได้ว่า Kenjutsu
ประวัติศาสตร์ เคนจุตสึ เกิดขึ้นได้ยังไง
ยุคเริ่มต้น
- เชื่อกันว่าดาบเหล็กเล่มแรก ทำขึ้นในญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ 4 ซึ่งนำเข้าวัสดุมาจากจีน ก่อนที่ในยุคเฮอัน ดาบลักษณะโค้งหรือคาตานะ จะเป็นที่รู้จักนอกญี่ปุ่น
- ซึ่งสำนักสอนดาบเก่าแก่ ที่เปิดในช่วงมุโระมาจิ ระหว่างปี ค.ศ. 1336-1573 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ได้แก่ สำนักดาบคาเกะริว, วิชาดาบชูโจริว และโรงเรียนเท็นชิน โชเด็น คาโทริ ชินโต-ริว
สมัยเอโดะ (ยุครุ่งเรือง)
- มาถึงสมัยเอโดะ เป็นช่วงเฟื่องฟูของวิชาดาบ มีโรงเรียนมากกว่า 500 แห่ง และมีการพัฒนาเทคนิค รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในศตวรรษที่ 19 โดยฝึกพื้นฐานด้วยดาบจำลองทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือดาบจริง
ปฏิรูปเมจิ (ยุคเสื่อมถอย)
- ในปี 1868 การปฏิรูปเมจิเริ่มขึ้น ทำให้ชนชั้นซามูไรถูกยุบลง รวมถึงความนิยมของ Kenjutsu และเสื่อมถอยกว่า 20 ปี กระทั่งในปี 1886 ตำรวจญี่ปุ่นรวมคาตะจากหลายสำนัก แล้วกำเนิดมาตรฐานเพื่อใช้ฝึก ต่อมาในปี 1895 มีการก่อตั้งหน่วยงาน Dai Nippon Butoku Kai
- ก่อนที่ในปี 1912 ทางหน่วยงานด้านศิลปะต่อสู้ญี่ปุ่น จะมีคำสั่งให้แต่ละสถาบัน เพิ่มเทคนิคเฉพาะตัวลงไปในหลักสูตร พร้อมกับคาตะ 10 ชุด ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเคนโด้ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20-21 ความสนใจศิลปะแห่งดาบเพิ่มขึ้น นอกประเทศญี่ปุ่น
ที่มา: History [1]
หลักการพื้นฐานของ เคนจุตสึ มีอะไรบ้าง
ท่าทางพื้นฐาน 8 รูปแบบ
- โชเมนอุจิ : หรือโชเมนกิริ หรือกิริโอชิ การตีศีรษะ/ใบหน้าแนบลงในแนวตั้ง
- ฮิดาริ เคสะ-กิริ : เฉียงไหล่ลงด้านซ้าย ให้มีจุดตัดกับสะโพก
- ฮิดาริ อิชิมอนจิ-กิริ : ตีแนวนอนด้านซ้าย
- ฮิดาริ โจโฮ-กิริ : ท่าการตีทแยงซ้ายขึ้นจากสะโพก หรือจากเอวถึงไหล่
- มิกิ โจโฮ-กิริ : ท่าการตีทแยงขวาขึ้นจากสะโพก หรือจากเอวถึงไหล่
- มิกิ อิชิมอนจิ-กิริ : ตีแนวนอนด้านซ้าย
- มิกิ เกสสะ-กิริ : ตีไหล่เฉียงขวาลงมาถึงสะโพก
- ซึเกะ : การแทง
การบล็อกพื้นฐาน 3 รูปแบบ
- อูเกะ เกนาชิ : บล็อกและเบี่ยงเบนจุดโฟกัส
- อูเกะ โทมิ : การบล็อกโดยตรง
- อูเกะกิริ : วิธีบล็อกและตี
หลักสูตรการฝึก เคนจุตสึ ที่พบบ่อย
จุดเด่นของ เคนจุตสึ คือมีหลักสูตรหลายอย่าง โดยเป็นการใช้ดาบคาตานะ หรือเรียกว่าไดโตะ ควบคู่ไปกับวาคิซาชิ หรือโซโตะ ซึ่งมีคำเรียกว่า “นิโตจุตสึ / 二刀術 ” หมายถึง วิธีแห่งดาบ 2 เล่ม และเรียกการสอนนี้ว่านิโตริว ส่วนอีกแบบคือ “อิตโตริว / 一刀流” หมายถึง วิถีแห่งดาบเล่มเดียว
อุปกรณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน เคนจุตสึ และอาวุธ
อุปกรณ์เบสิกสำหรับศิลปะแห่งดาบ ได้แก่ โดกิ (เสื้อ), ฮากามะ (กางเกง), โอบิ (เข็มขัด) และโยโรอิ (ชุดเกราะซามูไร) ส่วนอาวุธหลักๆ บางส่วน มีดังนี้
- ดาบญี่ปุ่น หรือคาตานะ : เป็นอาวุธอเนกประสงค์ รูปทรงโค้งยาว ทำออกมาเพื่อใช้แทงและฟัน
- ดาบยาว หรือทาจิ : ดาบลักษณะยาวเรียว ออกแบบมาเพื่อแทงโดยเฉพาะ
- ดาบสั้น หรือวากิซาชิ : ออกแบบมาเพื่อการสู้ประชิดตัวและใช้แทง
- ดาบไม้ หรือโบคเคน-ดาบไม้ไผ่ หรือชิไน : ส่วนใหญ่ใช้ในกลุ่มผู้ฝึก น้ำหนักเบา อันตรายน้อย
ที่มา: The weapons and armor of ken-ju-tsu [2]
เปรียบเทียบ เคนจุตสึ VS เคนโด้ แตกต่างกันหรือไม่
Kenjutsu / 剣術
ไม่ใช่ศิลปะต่อสู้ประเภทใด แต่เป็นคำจำกัดความรวมๆ ของศาสตร์การสู้ด้วยดาบ ทุกรูปแบบของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดจากนักรบซามูไร ในยุคศักดินา มีทักษะของตัวเองหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อิไอ (การดึง), บัตโตอิอุ (โจมตี), ชินเคน ชิราฮาโดเมะ (ปลดอาวุธ) เป็นต้น
Kendo / 剣道
เคนโด้ชื่อเรียกศิลปะต่อสู้เฉพาะ ที่เชื่อมโยงกับการใช้ดาบ และอุปกรณ์อื่นๆ อยู่ในกลุ่มกีฬาที่มีการแข่งขัน ถูกสร้างขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 18 เพื่อฝึกดาบเต็มรูปแบบ โดยมีแนวคิดตามสหพันธ์ AJKF ว่า “ฝึกนิสัยผ่านหลักการของคาตานะ”
ซึ่งประกอบด้วยผู้ฝึก 2 คน และกำหนดให้ฟันเฉพาะตำแหน่งบนร่างกาย โดยกำหนดให้สวมชุดเกราะ หน้ากาก เข็มขัด และถุงมือ มีระบบให้คะแนน รวมถึงกฎมาตรฐานสากล
ที่มา: Kendo VS Ken-ju-tsu: What's the difference? [3]
สรุป เคนจุตสึ
ศิลปะของการใช้ดาบญี่ปุ่นโบราณ ที่ริเริ่มโดยนักรบซามูไรในยุคศตวรรษที่ 4 เน้นย้ำไปที่ทักษะต่อสู้ มากกว่าเทคนิคหรือลีลา และมักสอนไปพร้อมๆ กับอิไอจุตสึ อีกทั้งยังได้ชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษของศิลปะการต่อสู้เคนโด้อีกด้วย
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (June 18, 2024). History. Retrieved from en.wikipedia
[2] Combatpit.com. (May 16, 2023). The weapons and armor of ken-ju-tsu. Retrieved from combatpit
[3] Butuken. (August 9, 2017). Kendo VS Ken-ju-tsu: What's the difference?. Retrieved from martialartswords