การแข่งขัน ฮอกกี้ใต้น้ำ (Underwater Hockey) กีฬาลูกผสมจากยุค 50

มิถุนายน 9, 2024
ฮอกกี้ใต้น้ำ

ฮอกกี้ใต้น้ำ (Underwater Hockey) หรือฉายาในวงการว่า Octopush ที่หมายถึงปลาหมึกยักษ์ เป็นกีฬาลูกผสม ที่ไม่ถือว่าแปลกใหม่ เพราะมีประวัติมาตั้งแต่ยุค 50 และในปัจจุบัน ยังคงนิยมเล่นกันอยู่

แต่หลายคนอาจคุ้นหูแค่ชื่อ “กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง” ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จัก การแข่งขันฮอกกี้ดำน้ำ หนึ่งในกีฬาน่าตื่นเต้น ที่เคยถูกบรรจุใน SEA Games โดยมีข้อมูลต่างๆ ดังนี้

รู้จักกับ ฮอกกี้ใต้น้ำ กีฬาลูกผสม 3 ชนิด

หากคุณคิดว่า มวยหมากรุก เป็นกีฬาผสมผสาน 2 ชนิดที่ว้าวแล้ว แต่การแข่งขัน ฮอกกี้ใต้น้ำ ผสมผสานมากกว่าถึง 3 ชนิด ได้แก่ ฮอกกี้น้ำแข็ง โปโลน้ำ และการดำน้ำลักษณะ free diving รวมกันออกมาเป็น กีฬาตีลูกใต้น้ำ ที่โด่งดังมากๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

ประวัติ ฮอกกี้ใต้น้ำ มีต้นกำเนิดขึ้นเมื่อไหร่

การแข่งขัน ฮอกกี้ใต้น้ำ กำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษปี 1950 โดยทหารเรือของอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเหล่าทหาร มีรูปร่างสมส่วน และมีประสิทธิภาพ สำหรับการดำน้ำลึก หลังจากนั้น กีฬาได้เผยแพร่ไปยังเมือง Durban แอฟริกาใต้ ภายใต้การดูแลของ Durban Undersea Club

ซึ่งเกมแรกที่จัดแข่งขัน เล่นโดยสมาชิกของสโมสร Max Doveton หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1962 กีฬาชนิดนี้ถูกแนะนำโดย Norm Leibeck ในประเทศแคนาดา และอเมริกา อีกทั้งในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ยังถูกแนะนำในฟิลิปปินส์ ส่งผลให้เป็นที่รู้จักในเอเชียด้วย

กระทั่ง 10 ปีต่อมา มีคนนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการก่อตั้ง สมาคม ฮอกกี้ใต้น้ำ แห่งบริติชโคลัมเบีย (UHABC)ต่อมาในปี 1975 รายการแข่งขันครั้งแรกชื่อว่า Australian Underwater Hockey Championships จัดขึ้นที่แม่น้ำมาร์กาเร็ต และภายในปี 1981 การแข่งประเภทหญิง ถูกบรรจุเข้าไป ในรายการชิงแชมป์ [1]

หน่วยงานดูแล ฮอกกี้ใต้น้ำ และรายการชิงแชมป์โลก

สำหรับหน่วยงาน ที่ดูแลการแข่งขัน ฮอกกี้ใต้สระน้ำ มีชื่อว่า CMAS หรือสมาพันธ์กิจกรรมใต้น้ำโลก ที่มีทัวร์นาเมนต์แข่งขันนานาชาติ ยกตัวอย่างเช่น 2024 CMAS ครั้งที่ 6 ชิงแชมป์โลกใต้น้ำฮอกกี้กลุ่มอายุ และ ฮอกกี้ใต้น้ำ เอเชียครั้งที่ 8 ประเทศสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมีทัวร์นาเมนต์ระดับโลกอย่าง การแข่งขัน ฮอกกี้ใต้น้ำ ชิงแชมป์โลก ซึ่งจัดทุกๆ 2 ปี ครั้งแรกเมื่อปี 1980 ภายใต้การควบคุมของ CMAS โดยมีทั้งหมด 4 ประเภท คือ Elite, Masters, U-24 และ U-19 ซึ่งประเทศต่างๆ ที่คว้าแชมป์ได้ มีข้อมูลดังนี้

  • ออสเตรเลีย : คว้าแชมป์มากสุด 26 ครั้ง (1982-2023) ประเภทชายอีลิท 11, หญิงอีลิท 8, มาสเตอร์ชาย 4, มาสเตอร์หญิง 2 ครั้ง
  • นิวซีแลนด์ : คว้าแชมป์รองลงมา 21 ครั้ง (1988-2023) ประเภทชายอีลิท 4, หญิงอีลิท 3, ชาย U-23/24 1, หญิง U-23/24 3, ชาย U-19 4, หญิง U-19 6 ครั้ง
  • แอฟริกาใต้ : คว้าแชมป์มาแล้ว 11 ครั้ง (1998-2023) หญิงอีลิท 4, มาสเตอร์ชาย-หญิง 3, หญิง U-19 1 ครั้ง
  • ฝรั่งเศส : ชนะการแข่งขันมาแล้ว 10 รอบ (1998-2023) ชายอีลิท 5, หญิงอีลิท 1, มาสเตอร์ชาย 1, มาสเตอร์หญิง 2, ชาย U-19 1 ครั้ง
  • สหรัฐอเมริกา : ชนะการแข่งขันมาแล้ว 6 รอบ (2002-2023) มาสเตอร์ชาย 4, มาสเตอร์หญิง 2 ปี
  • บริเตนใหญ่ : เป็นผู้ชนะรางวัลทั้งหมด 3 รอบ (2002-2011) ชาย U-19 1, หญิงอีลิท 2 ปี
  • ตุรเคีย (ตุรกี) : เป็นผู้ชนะรางวัลทั้งหมด 3 รอบ (2015-2019) ชาย U-23/24 จำนวน 3 ปี
  • โคลัมเบีย : เป็นผู้ชนะรางวัลทั้งหมด 2 รอบ (2013-2015) หญิง U-23/24 1, ชาย U-19 1 ปี
  • เนเธอร์แลนด์ : คว้ารางวัลด้วยกัน 2 ปี (1980, 2004) ประเภทชาย-หญิงอีลิท คนละ 1 ปี
  • แคนาดา : คว้ารางวัลด้วยกัน 1 ปี (1986) ประเภทชายอีลิท
  • สเปน : คว้ารางวัลด้วยกัน 1 ปี (2008) ประเภทชาย U-19

ที่มา: Results by Nation (Most successful in given category) [2]

การมาเยือนของ ฮอกกี้ใต้น้ำ ในภูมิภาคเอเชีย

ในการแข่งขันระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งหนึ่งเคยบรรจุกีฬา ฮอกกี้ใต้น้ำ ไว้ในซีเกมส์ 2019 ครั้งที่ 30 ประเทศฟิลิปปินส์ โดยร่วมแข่งขันด้วยกัน 4 ชาติ คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ซึ่งผู้ชนะทุกประเภท ทั้งหญิงชาย 4x4 และ 6x6 ตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ รองแชมป์คือเจ้าภาพ และอินโดนีเซีย ปิดท้ายด้วยมาเลเซียตามลำดับ ส่วนประเทศอื่นๆ ทั้งบรูไน, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, เมียนมา, ติมอร์ตะวันออก รวมถึงไทย ไม่มีกีฬาชนิดนี้ [3]

กติกา ฮอกกี้ใต้น้ำ แข่งขันกันยังไง

กฎพื้นฐานของกีฬา ฮอกกี้แข่งใต้น้ำ หรืออ็อคโตพุช เป็นการเชื่อมกันระหว่าง ระเบียบวินัยและพื้นฐาน ของฮอกกี้น้ำแข็ง เข้ากับสมรรถภาพของการว่ายน้ำ โดยมีข้อบังคับ มาตรฐาน อุปกรณ์ และกติกาดังนี้

วัตถุประสงค์

  • เป้าหมายของการแข่งขัน คือต้องตีลูกให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
  • เป็นกีฬาเล่นใต้น้ำ ที่อนุญาตให้มีเวลาพัก จากการทำประตูหรือทำฟาวล์

การแข่งขัน

  • โดยทั่วไปยาวประมาณ 25 เมตร กว้าง 12 เมตร ลึก 2 เมตร
  • เล่นด้วยกัน 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่น 10 คน จากทั้งหมด 12 คน
  • ผู้เล่นสามารถอยู่ใต้น้ำได้ 6 คนต่อรอบ และตำแหน่งมักเป็นแบบผสมผสาน เซนเตอร์, ปีก, กองหลัง และวิงแบ็ก
  • ผู้เล่นที่เหลือ 4 คน ทำหน้าที่ตัวสำรอง (คล้ายกับกติกาการเปลี่ยนตัวฮอกกี้น้ำแข็ง)
  • เกมส่วนใหญ่เล่น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยมีเวลาพัก 5 นาทีต่อรอบ
  • แต่ละทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอก 60 วินาทีแต่ละครึ่ง
  • หากมีการผิดกฎเกิดขึ้นช่วง 2 นาทีสุดท้ายของเกม โดยทั่วไปเกมจะจบลง
  • หากทั้งสองทีมเสนอกัน จะเพิ่มเวลาพิเศษอีก 15 นาที เพื่อหาทีมที่จะคว้าชัย

ข้อบังคับทั่วไป

  • ผู้เล่นต้องส่งต่อบอล โดยใช้ไม้เท้า ห้ามใช้มือหรือส่วนใดของร่างกาย
  • ห้ามผู้เล่นสื่อสารกับใคร เว้นแต่จะเป็นคนที่ครอบครองบอล
  • ต้องไม่จงใจถ่วงเวลา โดยการใช้บอลว่างบนถุงมือ หรือถือไว้บนไม้

ผู้ตัดสิน

  • หากทีมใดทำผิดกฎ จะถูกตัดสินด้วยกรรมการในน้ำ 2 คน ที่จะส่งสัญญาณให้หยุดเล่น ด้วยการใช้เสียงกริ่ง
  • ผู้ตัดสินสามารถให้สิทธิ์ free puck จากการฟาวล์ ซึ่งทีมดังกล่าวจะเสียเปรียบในระยะ 3 เมตร
  • หากผู้เล่นกระทำร้ายแรง เจ้าหน้าที่อาจไล่ออกจากเกม ประมาณ 1 หรือ 2 นาที แล้วค่อยให้กลับมาเล่นใหม่
  • ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ให้จุดโทษ 2 ต่อ 1 หรือจุดโทษโดยตรง หากเกิดการฟาวล์ ในพื้นที่โอกาสทำประตู 3 เมตร

ที่มา: Rules of Underwater Hockey [4]

อุปกรณ์ในการเล่น ฮอกกี้ใต้น้ำ มีอะไรบ้าง

  • ไม้ตี : หรือเรียกว่า pusher มีสีขาวหรือดำ มีขนาด 100 มม. x 50 มม. x 350 มม. หรือยาวประมาณ 12 นิ้ว
  • หน้ากาก (ไม่ใช่แว่นตาดำน้ำ) : ช่วยลดการกระแทกใดๆ โดยเฉพาะจากลูกบอลที่มีน้ำหนักเยอะ
  • ท่อหายใจ : มักจะขนาดสั้นและมีรูกว้าง มีกฎว่าต้องไม่มีขอบ หรือมีความแหลมคม
  • ตีนกบ : อนุญาตให้ใช้หลายประเทศ เช่น ครีบยางคอมโพสิต หรือครีบไฟเบอร์กลาส เป็นต้น
  • ชุดว่ายน้ำ : ประเภทชายเป็นชุดว่ายน้ำ 2 ชิ้นฟรีสไตล์ ส่วนผู้หญิงเป็นแบบวันพีชก็ได้
  • ถุงมือ : ต้องใช้สีที่ตัดกับสีของไม้ตี และไม่ซ้ำกับสีของลูกบอล ควรหลีกเลี่ยงถุงมือสีดำ ขาว แดง ส้ม เหลือง ชมพู เป็นต้น
  • Puck : ทำมาจากสารตะกั่ว มีขนาดตั้งแต่ 1.3-1.5 กก. และขนาด 800-850 กรัม
  • อุปกรณ์นิรภัย : ประกอบด้วยเครื่องมือป้องกันหู ที่จะมาในรูปแบบหมวกโปโลน้ำ

สรุป ฮอกกี้ใต้น้ำ

ฮอกกี้ใต้น้ำ เป็นการแข่งขันลูกผสม 3 ชนิดกีฬา ที่เกิดขึ้นมาแล้วยาวนาน และมีหลายรายการระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น ชิงแชมป์โลก ชิงแชมป์ยุโรป แถมยังเคยบรรจุ ไว้ในมหกรรมซีเกมส์ด้วย แต่ในบ้านเรา ยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือมีการเล่นแบบจริงจัง เหมือนกับสิงคโปร์ หรือฟิลิปปินส์

อ้างอิง

[1] Sportsmatik. (July 7, 2022). The history of underwater hockey. Retrieved from sportsmatik

[2] Wikipedia. (June 2, 2024). Results by Nation (Most successful in given category). Retrieved from en.wikipedia

[3] Sportalsub.net. (December 6, 2019). Results – Underwater Hockey at the Southeast Asian Games Philippines 2019. Retrieved from sportalsub.net

[4] The UK Rules. (2022-2024). Rules of Underwater Hockey. Retrieved from theukrules

อะไรที่ได้มาด้วยความพยายามของตัวเอง มันจะไม่มีทางหลุดมือไปง่ายๆ
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-homeหน้าหลักPgslot-promotionโปรโมชั่นlogo-QA-teamPgslot-registerสมัครสมาชิกPgslot-กิจกรรมกิจกรรม