พระแม่ลักษมี ตามตำนานของชาวฮินดูนั้นเชื่อกันว่าได้กำเนิดมาจากฟองน้ำในคราวที่เหล่าเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤต และได้ผุดขึ้นมาโดยประทับนั่งในดอกบัวและพระหัตถ์ถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกพระนามว่า “ปัทมา” หรือ “กมลา”
นอกจากนี้พระแม่ลักษมีนั้นเป็นพระชายาคู่บารมีของพระนารายณ์ (หรือพระวิษณุ) ไม่ว่าพระองค์จะอวตารไปอยู่ในปางไหน พระแม่ก็จะอวตารไปเป็นชายาของพระองค์เสมอ พระแม่ลักษมีนั้นเป็นนารีเทพผู้มีรูปโฉมงดงามตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
แนะนำของไหว้ พระแม่ลักษมี เสริมดวง โชคลาภ
- ดอกบัวสีชมพู: การสักการะบูชานิยมถวายดอกบัวมากที่สุด โดยเฉพาะดอกบัวสีชมพู เพราะตอนพระแม่เกิดขึ้นมานั้นทรงประทับบนดอกบัว
- ขนมเพชรหรือขนมบัฟฟี่: ซึ่งเป็นขนมที่ พระแม่ลักษมี ทรงโปรดปราน เชื่อกันว่าหากได้ถวายขนมเพชรที่คล้ายเพชรนิลจินดาแก่พระแม่ จะประทานพรโชคลาภ ความร่ำรวยให้
- ตุ๊กตานกฮูก: นกฮูกเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่ลักษมี นิยมถวายตุ๊กตานกฮูกเป็นคู่ นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของความดี ความฉลาดหลักแหลม ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งร่ำรวย
- น้ำหอมดอกกุหลาบ: เป็นน้ำมงคลที่ถวายให้กับเหล่าทวยเทพ เชื่อกันว่าเมื่อถวายแล้วจะช่วยเรียกทรัพย์ให้เพิ่มพูน ช่วยเสริมสง่าราศีให้แก่ผู้บูชาด้วย
เพราะเหตุใด คนไทยถึงนิยมบูชา พระแม่ลักษมี
ตามความเชื่อของชาวฮินดู พระแม่ลักษมี ทรงประทานเงินทอง ความมั่งคั่งร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ในชีวิตให้แก่สาวก ส่วน พระพิฆเนศ ทรงประทานความสำเร็จ คนเราหากประสบความสำเร็จอย่างเดียว แต่หากขาดเงินทอง คงไม่พอ
หรือ หากมีแต่เงินทอง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะขาดอะไรไปอย่างไม่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงมักนิยมบูชาคู่กัน และเรียกว่า “ลักษมีคเณศ”
พระแม่ลักษมี กับพระพิฆเนศ เป็นอะไรกัน
พระแม่ลักษมี ทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ขององค์พระพิฆเนศ เนื่องด้วย พระนารายณ์พระสวามี (สามี) ของ พระแม่ลักษมี ทรงมีศักดิ์เป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ขององค์พระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) พระมารดา (แม่) ของพระพิฆเนศนั่นเอง
พิกัด สักการะ พระแม่ลักษมี อยู่ที่ไหนบ้าง
ศูนย์การค้าเกษร วิลเลจ (Gaysorn Village)
- สักการะพระแม่ที่เกษรวิลเลจ หัวมุมดาดฟ้า ชั้น 4
- อยู่ที่ ศูนย์การค้าเกษร วิลเลจ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ
- เวลาเปิดทำการตั้งแต่ : 10.00 - 18.00
ที่มา: สักการะพระแม่ลักษมี [1]
วัดเทพมณเฑียร
- ตั้งอยู่ที่ วัดเทพมณเฑียร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพ
- สามารถเดินทางด้วยรถประจำทางสาย 35, 42, 56, 96 และรถปรับอากาศสาย 42
- เวลาเปิดทำการ จันทร์-ศุกร์ 06.00 – 12.00, 15.00-20.00 และ เสาร์-อาทิตย์ 08.30-20.30
- สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา
วัดแขก สีลม (วัดพระศรีมหาอุมาเทวี)
- อยู่ที่ วัดแขก จังหวัดกรุงเทพ เขตบางรัก แขวงสีลม ถนนปั้น
- เวลาเปิดทำการ 06.00 – 20.00 น. (โดยประมาณ)
- ช่วง 1ถึง9 ค่ำ เดือน11 จะมีพิธีนวราตรี
ที่มา: วัดแขก สีลม [2]
วัดวิษณุ
- ตั้งอยู่ที่ จังหวัดกรุงเทพ เขตสาทร ถนนเจริญราษฎร์ แขวงทุ่งวัดดอน
- เปิดทำการตั้งแต่ 06.00-12.00 และ 15.00 – 20.30
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา
แนะนำ พระแม่ลักษมี รูปปั้นบูชา ในบ้าน
อ่างน้ำพุพระแม่ลักษมี
- วางจำหน่ายในราคา 1,888 ต่อ 1 ชุด
- ขนาดอ่างใส่น้ำ กว้าง 30 เซนติเมตร สูง 25-30 เซนติเมตร
- ขนาดองค์พระแม่ลักษมี ฐานกว้าง 2 นิ้ว สูง 5 นิ้ว
- สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ NocNoc
พระแม่ลักษมีสีทองพิมพ์นั่ง
- ขายในราคา 3,500 บาท
- ขนาดฐาน 5 นิ้ว สูง 10.5 นิ้ว
- วัสดุ โลหะแท้ สีทองเหลืองรมดำ
ที่มา: พระแม่ลักษมี เนื้อโลหะ [3]
พระแม่ลักษมีปางคชลักษมี
- จำหน่ายในราคา 1,250 บาท
- ขนาดสูง 12.5 นิ้ว ฐานกว้าง 8.5 นิ้ว ยาวถึง 9 นิ้ว
- วัสดุ เรซิ่น ทองเหลือง
ที่มา: พระแม่ลักษมี ปางคชลักษมี (เรซิ่น) [4]
พระแม่ลักษมีองค์ยืน 4 กร
- จำหน่ายในราคา 99,999 บาท
- สูง 120 เซนติเมตร กว้าง 70 เซนติเมตร
- เปิดทำการติดต่อได้ตั้งแต่ 09.00-19.00
ที่มา: พระแม่ลักษมียืน 4 กร [5]
ข้อห้าม ในการบูชา พระแม่ลักษมี
เนื่องจาก พระแม่ลักษมีไม่เสวยเนื้อสัตว์ โดยในการบูชา หรือ ถวายไม่ควรมีเนื้อสัตว์ประกอบอยู่ในอาหารเด็ดขาด นอกจากนี้ถ้าหากท่านใดได้ไปไหว้พระแม่ลักษมีห้ามนำเนื้อสัตว์ เข้าวัดโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นแบบสุก หรือ ดิบก็ตาม
ห้ามถวายไข่ ถึงไข่จะไม่ใช่เนื้อสัตว์ ก็ห้ามถวายอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเหล่าขนมที่มีไข่เป็นส่วนประกอบในนั้น เพราะด้วยในความเชื่อศาสนาฮินดูมองว่า ไข่เป็นตัวอ่อนของสัตว์เช่นกัน
สรุป พระแม่ลักษมี พระเจ้าผู้บันดาล ทุกสรรพสิ่ง
พระแม่ลักษมีเป็นเทพเจ้าของเหล่าสาวกที่นับถือศาสนาฮินดู โดยมีตำนานมากมาย ซึ่งจะมีเทพหลากหลายองค์ที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนาฮินดู ในไทยนั้นก็นิยมสักการะเป็นอย่างมาก ขอเรื่องโชคลาภ เงินทอง เพราะเนื่องจาก พระแม่ลักษมี นั้นเป็นผู้ประทานพรแก่สาวกที่นับถือในตัวของท่าน
อ้างอิง
[1] trip. (January 7, 2023). สักการะพระแม่ลักษมี. Retrieved from trip
[2] trueid. (September 14, 2022). วัดแขก สีลม. Retrieved from trueid
[3] puttatumma. (February 1, 2023). พระแม่ลักษมี เนื้อโลหะ. Retrieved from puttatumma
[4] lnwshop. (May 18, 2020). พระแม่ลักษมี ปางคชลักษมี (เรซิ่น). Retrieved from lnwshop
[5] กํายาน. (February 14, 2024). พระแม่ลักษมียืน 4 กร. Retrieved from กํายาน