ศิลปะการต่อสู้ ปาจีเฉียน (Bajiquan) จากภาคเหนือของจีน

กรกฎาคม 23, 2024
ปาจีเฉียน

ปาจีเฉียน (Bajiquan) หรือชื่อเต็มๆ คือ ไคเหมินปาจีเฉียน เป็นศิลปะต่อสู้ภาคเหนือของจีน ที่โดดเด่นด้วยการสู้ระยะใกล้ และการใช้ศอก-ไหล่ที่รวดเร็ว ซึ่งใช้ฝึกให้กับบอดี้การ์ดส่วนตัว ของนักการเมือง รวมถึงจักรพรรดิในราชวงศ์ชิง ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม อ่านต่อด้านล่าง

ทำความรู้จัก ปาจีเฉียน / 八极拳

Bajiquan นำคำว่าปาจี มาจาก “ปา (八) หมายถึง 8” ซึ่งสื่อถึง 8 ตำแหน่งของร่างกาย ได้แก่ ศีรษะ, ไหล่, ศอก, มือ, ก้น, สะโพก, เข่า และเท้า ส่วนคำว่า “จี (极) หมายถึง สุดขั้ว” หรือขั้วตรงข้าม เป็นแนวคิดที่สื่อถึง การขยายขีดความสามารถทางกายภาพ และจิตใจให้ถึงขีดสุด

ประวัติศาสตร์ ปาจีเฉียน ฉบับเข้าใจง่าย

หลักฐานที่บ่งชี้ได้ชัดสุดของ 八极拳 คือประมาณปี ค.ศ. 1920-1930 ระบุได้จากผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่า “หวู่จง” ชาวฮุยจากเหมิงชุน และมีการสันนิษฐานต้นกำเนิด ของไคเหมินปาจีไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้

  • พงศาวดารแห่งมณฑลฉาง คู่มือปาจีจากตระกูลอู่ และต้นฉบับป้อเป่ยกล่าวว่า พระสงฆ์ในลัทธิเต๋า พร้อมด้วยลูกศิษย์ ตั้งรากฐานที่เหมิงชุน เพื่อสอนปาจีและการใช้หอกให้แก่อู่จง
  • อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ พระภิกษุจากวัดเยว่ซาน มณฑลเหอหนาน ที่กลับไปสู่ชีวิตฆราวาส ซึ่งอ้างกันว่าเขาคือผู้สอนวิชาหอก

ประวัติศาสตร์แรกที่กล่าวถึง ศิลปะการต่อสู้ ปาจี คือในสัญญาทางทหาร ที่เขียนขึ้นโดยนายพลฉีจี้กวง (1528-1588) ทำให้อนุมานได้ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 16 การต่อสู้นี้ถูกยอมรับอย่างดี

กระทั่งถึงยุคราชวงศ์ชิง มีบุคคลสำคัญอย่างหลี่ ซูเหวิน (1860-1934) ที่เป็นผู้ขยายการสู้นี้ นอกจากนี้ หลายคนยังเชื่อว่า ไคเหมินปาจี นำรากฐานมาจาก ศิลปะการต่อสู้ปิกวาเฉียน (Piguaquan) ในเหอเป่ยอีกด้วย [1]

สายตระกูล ปาจีเฉียน ที่ยังสืบทอดถึงปัจจุบัน

รูปแบบการฝึกไคเหมินปาจี ปัจจุบันมีหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น ฮั่น, ฮั่ว, จี, หลี่, หม่า, เฉียง, อู่, อู่ตัน หรือหยินหยาง ซึ่งแยกออกตามตระกูลต่างๆ แต่มีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน บางสไตล์พบได้แค่ในจีน และบางสไตล์แพร่ขยายไปสู่ภูมิภาคตะวันตก ยกตัวอย่างเช่น

  • สไตล์เทียน : หนึ่งในแขนงที่มีรากฐานร่วมกับ จินกังปาจี ผู้ฝึกมีชื่อเสียง เช่น หวู่ซิงเฟิง, เทียนจินจง และเสิ่นเจียรุ่น
  • สไตล์หยินหยาง : พัฒนาขึ้นโดยจ้าวฟูเจี้ยน ซึ่งนำเอาทักษะด้านปาจี + ซิงอี้ฉวน + อี้ฉวน ผสมกัน ส่วนใหญ่ฝึกแค่ในประเทศจีน
  • สไตล์หวู่ตัน : ฝึกมากสุดในฝั่งตะวันตก มีต้นกำเนิดจากไต้หวัน ก่อตั้งโดยหลิวหยุนเฉียว

องค์ประกอบการฝึก ปาจีเฉียน มีอะไรบ้าง

การฝึกฝน Bajiquan ประกอบด้วยสู้แบบมีอาวุธ และปราศจากอาวุธ พร้อมด้วยทักษะ 20 รูปแบบ แบ่งออกเป็น โครงสร้างเล็ก เช่น หมัดเสือดำ, ปาจีตันไจ้, ปาจีตันดา รวมทั้งหมด 12 แบบ และสู้ด้วยอาวุธ 8 รูปแบบ เช่น หอก, ดาบ, กระบี่, กระบอง เป็นต้น

เทคนิคอันเป็นเอกลักษณ์ของ ปาจีเฉียน

ศิลปะต่อสู้ไคเหมินปาจี มีแนวการสู้เน้นปรัชญา และใช้ร่างกายโจมตีระยะประชิด และทรงพลัง โดยมีหลักการสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ระเบิดพลัง : หรือการจู่โจมกะทันหันเรียกว่า “Fa Jing” เป็นการลงน้ำหนักไปที่สะโพกและเอว
  • สู้ระยะประชิด : หัวใจหลักคือเข้าประชิดด้วยความเร็ว และโจมตีตำแหน่งสำคัญด้วยความเด็ดขาด
  • แปดขั้ว : ถือว่าศีรษะ-เท้าเป็นสวรรค์, ไหล่ เข่า ศอก สะโพก เป็นทิศทั้งสี่ และมือเป็นจุดศูนย์กลาง
  • สมรรถภาพร่างกายเสมือนเหล็ก : แข็งแรง ยืดหยุ่น สามารถทนต่อการสู้แบบรุนแรงโดยไม่บาดเจ็บ
  • ความมั่นคง : ผู้ฝึกต้องมีเคลื่อนไหวอย่างมีสมดุล และรักษาท่าทางให้มั่นคง ห้ามเสียหลัก

ที่มา: Distinctive Techniques and Philosophy [2]

กลยุทธ์ ปาจีเฉียน และหลิวต้าไค 6 ประการ

นอกจากเทคนิคด้านบน ยังมีกลยุทธ์ 6 ประการฝ่าแนวรับ หรือเรียกว่า “หลิวต้าไค / 六大开” และ 6 ลักษณะพลัง ที่เป็นหลักการเฉพาะ ดังนี้

หลิวต้าไค 6 ประการ

  1. ติง (顶): : โขกหัว ใช้หมัด ศอก ไหล่ ผลักไปด้านหน้าหรือขึ้นข้างบน
  2. เป่า (抱) : กอดรัดด้วยแขน มักใช้ร่วมกับเทคนิคการสับ
  3. ตี (提) : การเคลื่อนที่แบบยกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเข่าหรือเท้า
  4. กัว (挎) : การตีหรือแกว่งด้วยไหล่และสะโพก
  5. ซัน (缠) : การเคลื่อนไหวพันกัน ด้วยการหมุนข้อมือ ศอก และไหล่
  6. แดน (单) : โจมตีด้วยมือข้างเดียว

พลังลักษณะ 6 ประการ

  1. การจม : หรือเซี่ยเฉิน / เฉินจุ้ย
  2. การแทง : หรือฉง
  3. การยืด : หรือเฉิง
  4. การพัวพัน : หรือฉาน
  5. การข้าม : หรือซือจื่อ
  6. การระเบิดระยะสั้น : หรือคุน [3]

สรุป ปาจีเฉียน

ปาจีเฉียน ศิลปะต่อสู้แปดขั้ว จากทางภาคเหนือประเทศจีน ที่กำเนิดย้อนกลับไปกว่า 496 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในสมัยก่อน มีชื่อเสียงในฐานะ “หลักสูตรฝึกองครักษ์” ที่มีทั้งใช้อาวุธและมือเปล่ารวมกัน 20 รูปแบบ เน้นการสู้ใกล้ด้วยความหนักแน่น พร้อมกลยุทธ์รวม 12 ประการ

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (June 24, 2024). History. Retrieved from en.wikipedia

[2] Maling Shaolin Kung Fu Acsdemy China. (June 3, 2024). Distinctive Techniques and Philosophy. Retrieved from shaolin-kungfu

[3] Quan Shaolins Kung Fu School. (2008-2024). Six Major Characteristic Powers. Retrieved from shaolinskungfu

อะไรที่ได้มาด้วยความพยายามของตัวเอง มันจะไม่มีทางหลุดมือไปง่ายๆ
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-homeหน้าหลักPgslot-promotionโปรโมชั่นlogo-QA-teamPgslot-registerสมัครสมาชิกPgslot-กิจกรรมกิจกรรม