ความจริงของตำนาน ไวเวิร์น (Wyvern) หรือ มังกรยุโรป สิ่งมีชีวิตคล้ายงูเล็ก 2 ขา ที่ส่วนใหญ่ปรากฏในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแคนาดา ซึ่งต่างจากมังกรทั่วไป คือมันไม่พ่นไฟ ส่วนข้อมูลที่น่ารู้อื่นๆ ตามเราไปศึกษาพร้อมกันด้านล่าง
ทำความรู้จัก ไวเวิร์น จากประวัติการเรียกขาน
ไวเวิร์น เป็นคำที่พัฒนามาจาก wyver ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษแองโกล-ฝรั่งเศสว่า wivre โดยมาจากภาษาละตินอย่าง vīpera อีกทอดหนึ่ง หมายถึง งูพิษ / งูเห่า ซึ่งทหารชาวอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1682 เน้นย้ำว่ามันมีเพียงแต่สองขาเท่านั้น
ตำนาน ไวเวิร์น สัตว์อันตรายเกี่ยวกับเรื่องร้าย
การพรรณนาถึงสิ่งนี้ครั้งแรก สูญหายไป แต่ชัดเจนว่ามันเป็นที่รู้จัก มาตั้งแต่ยุคกลาง ของศตวรรษที่ 5 จากตำรานักเล่นแร่ ซึ่งนักวิชาการส่วนหนึ่ง สันนิษฐานว่า มันถือกำเนิดมาจากธงรบโรมัน และเชื่อมโยงกับแนวคิดที่มาของชื่อ vipera ที่เชื่อว่าชาวโรมันน่าจะเคยใช้
ย้อนไปในยุโรปยุคกลาง สัตว์ตัวนี้มักเกี่ยวข้องกับสงคราม โรคระบาด หรือเรื่องเลวร้าย มันถูกพูดถึงว่า เป็นสัตว์นักล่าสุดอันตราย รุนแรง และฉลาด โดยชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือในถ้ำเปิดโล่งบนภูเขา
ส่วนบทบาทในตำนานเทพเจ้า มันมักปรากฏในเรื่องของ เทพเจ้าโอดิน หรือ เทพเจ้าธอร์ ซึ่งคนสมัยก่อนมองว่า มันเป็นลางบอกเหตุ หรือผู้พิทักษ์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมังกรที่มีชื่อเสียงมากสุด 2 ตัว คือ ฟาฟเนอร์ (Fafnir) คนแคระที่กลายร่างเป็นมังกร กับยอร์มุงกันด์ (Jörmungandr) หรืองูมิดการ์ด [1]
ลักษณะทางกาย ไวเวิร์น พร้อมทักษะพิเศษ
ลักษณะทางกาย
- เป็นงูตัวเล็ก มี 2 ขายาวและเรียว
- นิ้วเท้ากางออก กรงเล็บโค้งง้อแหลมคม
- ปลายหางแหลม บางตำนานบอกว่ามีเหล็กใน
- ปีกใหญ่คล้ายค้างคาว
ทักษะพิเศษประจำตัว
- บินได้เก่ง มักล่องอยู่บนฟ้า
- เป็นสัตว์นักสู้ ฉลาดแกมโกง
- บางตำรากล่าวว่าไม่มีไฟ บางตำราบอกว่ามีไฟดวงเล็กๆ
- ลมหายใจเผาร้อน แพร่กระจายโรค มีเขี้ยวพิษ
ที่มา: Characteristics [2]
เล่ากันว่า ไวเวิร์น มีสองเผ่าพันธุ์ จริงหรือไม่?
เรื่องเล่าของ wyvern ที่พ่นไฟได้ ยังคงเป็นสิ่งที่สงสัยกันอยู่ แม้จะไม่มีแหล่งกำเนิดไฟ เหมือนกับมังกรยักษ์ แต่บางงานเขียน กล่าวว่ามันพ่นไฟได้แต่ไม่มาก ส่วนอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง คือมังกรน้ำแข็ง เล่าว่ามีหลายสี ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าอ่อน, ขาว, เขียว, เทา, ดำ มีปากยาวเป็นสามเหลี่ยม จมูกเรียวคล้ายจะงอย หัวและลำตัวเต็มไปด้วยหนาม
ความแตกต่างระหว่าง ไวเวิร์น VS มังกร
ขนาดตัว
- มังกรยุโรป : ยิ่งตัวเล็ก พลังยิ่งน้อยลง
- มังกรทั่วไป : ยิ่งตัวใหญ่ พลังยิ่งมากขึ้น
โครงสร้างปีก
- มังกรยุโรป : ปีกขนาดเล็ก เชื่อมกับหน้าขา
- มังกรทั่วไป : ปีกขนาดใหญ่ ติดอยู่ที่หลัง
จำนวนขา
- มังกรยุโรป : มี 2 ขา ขาหน้าติดกับปีก
- มังกรทั่วไป : มี 4 ขาแยกกัน
ความเกี่ยวข้อง
- มังกรยุโรป : ขโมยสมบัติ ไม่เชื่อมโยงกับธาตุใดเจาะจง
- มังกรทั่วไป : เฝ้าสมบัติ เกี่ยวกับธาตุไฟ หรือลมหายใจธาตุอื่น
ที่มา: Wyvern vs. Dragon: Physical Differences [3]
การใช้ ไวเวิร์น เป็นสัญลักษณ์ในบริบทต่างๆ
เชื่อกันว่า สัตว์ตัวนี้ปรากฏบนธงรบอังกฤษ ในช่วงศตวรรษที่ 8 โดยเวลส์ (Wales) ใช้เป็นมังกรแดง ส่วนเวลส์เซ็กซ์ (Wessex) ใช้เป็นมังกรทอง ก่อนที่ต่อมาในศตวรรษที่ 16 มันจะถูกยกย่องในฐานะ ตัวแทนความกล้า และแข็งแกร่ง จากนั้นเมื่อถึงศตวรรษที่ 19 บริษัททั่วอังกฤษ เริ่มใช้มันเป็นโลโก้ ยกตัวอย่างเช่น
- ตราประจำโรงเรียน King Alfred
- เครื่องหมาย กองพลทหารราบที่ 43
- ตราประจำตระกูล ราชวงศ์บรากันซา โปรตุเกส
- ตราประจำเมืองเลสเตอร์
- สัญลักษณ์สโมสรฟุตบอล อีสต์ลอนดอน
- โลโก้ของเทคโนโลยีคอมไพเลอร์ LLVM
- โลโก้สโมสรฟุตบอล Ternana Calcio อิตาลี
- โลโก้บริษัทผลิตช็อกโกแลต Lindt ของสวิตเซอร์แลนด์
- มาสคอตของทีม Woodbridge College ในแคนาดา
- ตราสัญลักษณ์สโมสร Leyton Orient FC และ Carlisle United FC
- สัญลักษณ์หน่วยกองบินรบที่ 31 กองทัพอากาศสหรัฐฯ
- มาสคอตของฝูงบิน สนับสนุนปฏิบัติการที่ 51 ฐานทัพอากาศโอซัน
ที่มา: As a logo or mascot [4]
สรุป ไวเวิร์น / waɪvərn
ไวเวิร์น (waɪvərn) สัตว์คล้ายงูขนาดมี 2 ขา ที่ส่วนใหญ่มักโผล่อยู่ใน ตำนานยุโรป ซึ่งบางคนคิดว่า มันมาจากตระกูลเดียวกับมังกร (Dragon) โดยเป็นตัวแทนของการทำสงคราม ความกล้า และฉลาดอย่างมีชั้นเชิง แต่ยังคงมีข้อสงสัยว่า แท้จริงแล้วมันพ่นไฟได้หรือไม่
อ้างอิง
[1] Mythology Worldwide. (September 7, 2024). Famous Scandinavian Wyverns and Their Legends, The Wyvern’s Role in Norse Mythology and Religion. Retrieved from mythologyworldwide
[2] Mythology.net. (December 22, 2016). Characteristics. Retrieved from mythology
[3] Eslbuzz. (October 5, 2023). Wyvern vs. Dragon: Physical Differences. Retrieved from eslbuzz
[4] Wikipedia. (October 21, 2024). As a logo or mascot. Retrieved from en.wikipedia