ความจริงของตำนาน ไคเมร่า (Chimera) สัตว์ประหลาดลูกผสมจากไลเซีย ที่มีรูปร่างเป็นสิงโต บนหลังมีหัวแพะ และส่วนหางเป็นงู ซึ่งตามลำดับญาติ พวกมันเป็นพี่น้องของหมา 3 หัวเซอร์เบอรัส ส่วนข้อมูลอื่นๆ ทั้งต้นกำเนิด พลัง และข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ไปเจาะลึกด้านล่าง
รู้จักความหมายของชื่อ ไคเมร่า มาจากอะไร
ไคเมร่า เป็นคำภาษากรีกอย่าง chimaira หมายถึง สัตว์อายุ 1 ขวบ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ คำในภาษาอินโด-ยูโรเปียน ที่แปลว่าสัตว์เลี้ยงลูกอื่น เช่น ภาษานอร์สเก่าแก่อย่าง gymbr หมายถึง ลูกแกะ [1] และมักถูกใช้เรียก สิ่งมีชีวิตในเทพนิยาย ที่มีส่วนต่างๆ เป็นสัตว์ต่างสายพันธุ์
ต้นตระกูล ไคเมร่า และคำอธิบายในกวีกรีกโบราณ
ตามคำกล่าวของนักกวีกรีกชื่อว่าเฮเซียด มารดาของมันอาจคืออีคิดนา และมีบิดาเป็นไทฟอน ซึ่งตรงกับตำนานของอพอลโลโดรัสและไฮจินัส โดยมีพี่น้องอีก 3 ตน ได้แก่ เซอร์เบอรัส, ออร์ธัส และไฮดรา
ส่วนคำพรรณนาเกี่ยวกับหน้าตา หนึ่งในสองกวีกรีกเขียวไว้ว่า “มีสายเลือดของเทพเจ้า แต่ไม่ใช่มนุษย์ ด้านหน้าเป็นสิงโต ตรงกลางเป็นแพะ ด้านหลังเป็นงู และมีลมหายใจเป็นไฟ” [2] โดยแต่ละส่วน อธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้
- สิงโต : เป็นส่วนหน้าที่เด่นสุด มีพละกำลัง นิสัยก้าวร้าว และเป็นตัวแทนของความเหนือกว่า ผู้คนโบราณถือว่า เป็นนักล่าที่มีอำนาจของราชวงศ์
- แพะ : หัวยื่นออกมาจากหลังสิงโต ในหลายความเชื่อ แพะสื่อถึงชีวิตชีวา หรือความโง่ ส่วนในบทบาทในตำนานกรีก มันเปรียบเสมือนความซอฟ อันตรายน้อย
- งู & มังกร : หางเป็นงูหรือมังกร เชื่อมโยงกับความทรยศ ความตาย คาดเดาได้ยาก และเป็นความอาฆาต
ที่มา: The Chimera as a Symbol of Chaos and Disorder [3]
เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง ไคเมร่า ถูกสังหารโดยเบลเลอโรฟอน
ในคำบอกเล่า เจ้าตัวนี้ถูกรับเลี้ยงจากอาไรโซดารัส และบุรุษนามว่า “เบลเลอโรฟอน” รับคำสั่งจากกษัตริย์ไลเซีย ให้ไปสังหารสัตว์ลูกผสม โดยมีนัยสำคัญ คือให้มันฆ่าเบลเลอโรฟอนแทน
แต่การต่อสู้ครั้งนี้ เบลเลอโรฟอนมีพันธมิตรลับๆ นั่นคือเพกาซัส ลูกของเมดูซ่า หนึ่งในสามสัตว์ประหลาด กอร์กอน และ เทพเจ้าโพไซดอน ซึ่งเขาได้รับความช่วยเหลือจาก เอเธน่าและโพลีอิดัส จากนั้นคู่หูก็เริ่มต่อสู้ ด้วยกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ดังนี้
- ใช้อาวุธตะกั่ว แทงลงไปในปาก
- ให้โลหะหลอมเหลว สัมผัสกับลมหายใจของมัน
- แล้วทำให้โลหะละลายลงไปในคอ
ทำให้สัตว์ประหลาดลูกผสม ถูกเผาจากภายใน และเอาชนะมาได้
สถานที่อาศัยของ ไคเมร่า อยู่ที่ไหน
มีการเล่ากันว่า มันอาศัยอยู่บนภูเขา Lycia บริเวณอาณาจักรเก่าแก่ หรือชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีในปัจจุบัน และเรียกว่ายานาร์ทาส หมายถึงหินที่ลุกเป็นไฟ ซึ่งมันอาศัยอยู้กับสัตว์ประหลาดมากมาย หลังจากที่แพ้ให้กับเบลเลอโรฟอน
ไคเมร่า สัญลักษณ์สมัยใหม่ในวงการวิทยาศาสตร์
การปรากฏบนภาพวาด มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 และพบเห็นในตำรา เมื่อศตวรรษที่ 8 โดยมีนักวิชาการชื่อดัง หลายคนของกรีก เช่น พลินี, เซเนกา, โฮเมอร์, เฮเซียด ล้วนมีส่วนในการเขียน ตำนานสัตว์ตัวนี้ขึ้นมา
และปัจจุบัน chimerical ที่แปลว่า เพ้อฝัน ไม่น่าเชื่อ เป็นคำที่มาจาก Chimera สัญลักษณ์ของความไม่น่าเชื่อ หรือเป็นไปไม่ได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ใช้อธิบายถึงสิ่งมีชีวิต ที่มีเซลล์ไซโกตต่างกัน และกลุ่มนักพันธุศาสตร์ กำลังคิดที่จะสร้าง Chimera นอกจากนี้ มันยังมีบทบาทในการวิจัยเพื่อรักษา อาทิเช่น
- ปลูกถ่ายอวัยวะ
- ชีววิทยาพัฒนาการ
- ความผิดปกติของพันธุกรรม
ที่มา: Modern Language and Science [4]
ยกตัวอย่าง ไคเมร่า บนแพลตฟอร์มที่ทันสมัย
- ซีรีส์โทรทัศน์ : ดัดแปลงเป็นสัตว์ประหลาดตัวร้าย ทั้งในแฟรนไชส์ Super Sentai / Power Rangers
- การ์ตูน : Mon Colle Knights กล่าวถึงสัตว์ตัวนี้ว่ามี 3 หัว และมีปีกเป็นมังกร
- ภาพยนตร์ : ตัวละคร Beast ในหนังโฉมงามกับเจ้าชายอสูร มีรูปร่างคล้ายกัน เช่น มีเขาควาย คิ้วกอริลล่า จมูกและแผงคอสิงโต หรือขาและหางเป็นหมาป่า
- วิดีโอเกม : ฮีโร่โปเกม่อน 2 ตัว คือ Null และ Silvally มีพื้นฐานมาจากสัตว์ไฮบริดตัวนี้
- หนังสือ : แฮรี่พอตเตอร์ หนังสือคู่มือ Fantastic Beasts and Where to Find Them เอ่ยถึงสัตว์ลูกผสม และกระทรวงเวทมนตร์ ให้มันอยู่ในกลุ่ม 5X อันตรายมาก
สรุป ไคเมร่า / kaɪˈmɪərə
kaɪˈmɪərə ลูกหลายของอีคิดนาและไทฟอน ที่ปรากฏตัวด้วยหน้าตาสัตว์ Hybird ซึ่งมีลมหายใจไฟอันทรงพลัง แต่แล้วก็ถูกสยบโดย วีรบุรุษกรีกเบลเลอโรฟอน แต่มันยังเป็นสัญลักษณ์ความไม่น่าเชื่อ รวมถึงสำคัญต่อการศึกษาการแพทย์ยุคใหม่อีกด้วย
อ้างอิง
[1] Mythopedia. (March 23, 2023). Etymology. Retrieved from mythopedia
[2] Wikipedia. (October 18, 2024). Family, Description. Retrieved from en.wikipedia
[3] World History Edu. (September 9, 2024). The Chimera as a Symbol of Chaos and Disorder. Retrieved from worldhistoryedu
[4] Paleothea. (September 3, 2024). Modern Language and Science. Retrieved from paleothea