โชโตกัน (Shotokan) หนึ่งในรูปแบบคาราเต้-โด ที่สร้างขึ้นจากตระกูลฟุนาโกชิ โดยมีจุดเด่น คือเน้นการยืนกางขาออก และใช้เทคนิคเชิงเส้นตรง อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับทังซูโด สไตล์พยองอา ของเกาหลีอีกด้วย ส่วนข้อมูลๆ อ่านต่อด้านล่าง
ทำความรู้จัก โชโตกัน / 松涛館
松涛館 เป็นชื่อโดโจแรกๆ จากนามปากกาของกิจิน ฟุนาโกชิ (Gichin Funakoshi) ในศตวรรษที่ 18 ศิลปะการต่อสู้ ด้วยมือ หรือ Te ถูกพัฒนาขึ้นจาก 3 หมู่บ้านในโอกินาว่า และตั้งชื่อแต่ละสไตล์ว่า Shuri-te, Naha-te และ Tomari-te ซึ่งเชื่อกันว่า บรรพบุรุษของคาราเต้ โชโตกัน คือ “ชูริ-เต”
ต้นกำเนิด โชโตกัน เป็นมายังไง
ศิลปะต่อสู้แบบโอกินาว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นทศวรรษปี ค.ศ. 1800 ต่อมาในปี 1868 เข้าสู่ยุคปฏิรูปเมจิ และคาราเต้ได้รับอนุญาตให้ฝึกอย่างเปิดเผย ซึ่งกิจินฟุนาโกชิเกิดในปีดังกล่าว กระทั่งประกอบอาชีพอาจารย์ ในโอกินาว่า ในช่วงปี 1930 กิจินพยายามแนะนำคาราเต้ ให้ถูกยอมรับเช่นเดียวกับเคนโด้ ยูโด และ ไอคิโด
รวมถึงเขาได้เปลี่ยนชื่อให้กับ ทังซูโด จากใช้เป็น 唐手道 สู่ 空手道 ก่อนที่อีก 6 ปีต่อมา เขาจะถือกำเนิด Shotokan อย่างเป็นทางการ และหลังจากปี 1945 ที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลง มาซาโตชิ นากายามะ ลูกศิษย์คนสำคัญ ได้ก่อตั้งสมาคมคาราเต้แห่งญี่ปุ่น (JKA)
ในปี 1957 กิจินฟุนาโกชิเสียชีวิต ด้วยวัย 88 ปี และอาจารย์เทรุยูกิ โอคาซากิ ได้แนะนำคาราเต้เข้าสู่สหรัฐฯ เมื่อปี 1961 จากนั้นก่อตั้งสหพันธ์คาราเต้โชโตกันนานาชาติ (ISKF) ในรัฐเพนซิลเวเนีย จนเดินทางมาถึงปี 2007 สมาคมคาราเต้ญี่ปุ่น ก็ได้ถอนตัวออกจากองค์กรคาราเต้ญี่ปุ่น แล้วก่อตั้งองค์กรคาราเต้โชโตกันอิสระ [1]
องค์ประกอบรวมของ โชโตกัน มีอะไรบ้าง
คาตะ (Kata) ประกอบด้วย 26 ท่าทาง เช่น
- เฮอัน โชดัน : เคลื่อนไหว 21 ครั้ง
- เท็กกิ ซันดัน : เคลื่อนไหว 26 ครั้ง
- บาสไซได : เคลื่อนไหว 42 ครั้ง
- คันกุโช : เคลื่อนไหว 48 ครั้ง
- จิออน : เคลื่อนไหว 47 ครั้ง
ท่าทาง ประกอบด้วย 16 ท่า เช่น
- เฮโซกุ ดาจิ : เท้าสองข้างประกบกัน ใช้สำหรับการโค้งคำนับ
- เซ็นคัตสึ ดาจิ : ยื่นเท้าข้างหนึ่งไปด้านหน้า ให้ขาหน้ารับน้ำหนัก 70% และขาหลัง 30%
- ฮันเก็ตสึ ดาจิ : ท่าคล้ายพระจันทร์เสี้ยว กระจายน้ำหนัก 50/50 ทั้งขาหนาและขาหลัง
- ซันชิน ดาจิ : ท่าคล้ายนาฬิกาทราย มีอีก 2 ท่าย่อย ได้แก่ นิจุชิโฮ และอุนสึ
- เทอิจิดาจิ : ทำเท้าหน้าและเท้าหลัง ให้เป็นรูปทรงตัว T
ท่าการเตะ ที่พบเห็นได้บ่อย เช่น
- ฟุมิโคมิ : เตะแบบกระทืบเท้า มุ่งเป้าไปที่เข่า ต้นขา หรือเท้าคู่ต่อสู้
- ฮิซา เกริ : โจมตีไปยังเข่าคู่ต่อสู้ด้วยเข่าของตัวเอง
- ทัตสึมากิ เซ็นปุ คยากุ : เตะทอร์นาโด หรือเตะวงเดือนแล้วหมุนตัว
- มิคาซึกิ เกริ : เตะตามทิศทางเสี้ยวพระจันทร์ มุ่งเป้าไปยังศีรษะหรือไหปลาร้า
- คิน เกริ : เตะขาหนีบเพื่อป้องกันตัว
ท่าใช้หมักบางส่วน อาทิเช่น
- ทาเท ซูกิ : หมัดแนวตั้ง
- นุคิเตะ : โจมตีด้วยนิ้ว ยกเว้นนิ้วโป้ง
- นิฮอน เคน : โจมตีด้วย 2 นิ้ว เพื่อจิ้มคู่ต่อสู้
- ไฮชู อุจิ : การตบแบ็คแฮนด์ หรือตบกลับด้าน
- เอนปิ : การตีศอก
ที่มา: Shotokan-Karate Techniques [2]
ระดับเข็มขัด โชโตกัน และการเลื่อนชั้น
ระบบจัดอันดับสายคาดของ โชโตกัน โดยหลักๆ แล้ว เกี่ยวข้องกับ 3 องค์กร ได้แก่ นานาชาติ (ISKF), คาราเต้แห่งประเทศญี่ปุ่น (JKA) และแห่งอเมริกา (SKA) ซึ่งคาตะที่ใช้ในการเลื่อนชั้นคาดไม่เหมือนกัน แต่ระดับสายตามสีไม่ต่างกันมากนัก
เริ่มที่ระดับคิว 9 เข็มขัดสีขาว, คิว 8 เข็มขัดสีเหลือง, คิว 7 เข็มขัดสีส้ม, คิว 6 เข็มขัดสีเขียว, คิว 5 เข็มขัดน้ำเงิน, คิว 4 เข็มขัดสีม่วง, คิว 3 ถึง 1 เข็มขัดสีน้ำตาล และสูงสุดคือเข็มขัดสีดำ ที่แยกย่อยไปอีก 10 ระดับ ( 3 ดั้ง, 3 แดน และ 4 ระดับ)
5 รายชื่อองค์กร โชโตกัน ที่มีชื่อเสียง
- สมาคมคาราเต้แห่งประเทศญี่ปุ่น (JKA) : สร้างขึ้นเมื่อปี 1949 โดยกิจินฟุนาโกชิ มีสาขาย่อยในกว่า 100 ประเทศ ถูกยกย่องเรื่องหลักสูตรที่เข้มงวด และทักษะดั้งเดิม
- สหพันธ์คาราเต้นานาชาติโชโตกัน (SKIF) : สร้างขึ้นเมื่อปี 1977 โดยฮิโรคาสึ คานาซาวะ มีสถาบันย่อยในกว่า 130 ประเทศ โดดเด่นด้านเทคนิคที่สร้างสรรค์
- สหพันธ์คาราเต้โชโตกันนานาชาติ (ISKF) : ก่อตั้งในปี 1977 โดยอาจารย์โอกาซากิ มีสาขาภายใต้การดูแลกว่า 70 ประเทศ เน้นสนับสนุนหลักการดั้งเดิม
- สหพันธ์คาราเต้ดั้งเดิมนานาชาติ (ITKF) : ก่อตั้งในปี 1990 มีสมาชิกกว่า 60 ประเทศ เน้นเทคนิคที่ถูกต้อง และผลักดันคาราเต้โชโตกันในฐานะกีฬา
- สมาคมนานาชาติโชโตกันคาราเต้-โด (SKDIA) : ก่อตั้งโดยมาซาโนบุ นิเฮอิ ในปี 2010 มีสมาชิกกว่า 20 ประเทศ เคยอยู่ภายใต้ทั้งองค์กร JKA, SKIF และ ISKF
ที่มา: List of Shotokan-organizations [3]
แนะนำรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับคาราเต้ โชโตกัน
- The Shotokan-Karate Bible: Beginner to Back Belt : สำหรับผู้เริ่มฝึกหัดจนถึงสายดำ โดยผู้เขียน แอชลีย์ พี. มาร์ติน วางจำหน่ายเมื่อปี 2007 มีทั้งหมด 2 เล่ม ราคาประมาณ 770 บาทต่อเล่ม
- Shotokan-Karate: Its History and Evolution : ประวัติและวิวัฒนาการ จากผู้เขียนแรนดิล จี. ฮาสเซลล์ วางจำหน่ายในปี 2007 ราคาราวๆ 900 บาทต่อเล่ม
- 26 Shotokan Katas: Reference Manual : คู่มือสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว ตีพิมพ์ในปี 2020 ราคาประมาณเล่มละ 940 บาท
- Shotokan Karate: Your Ultimate Grading and Training Guide (White to Black Belt) : คู่มือคะแนนและการฝึกขั้นสูง จากผู้เขียนฟิลเพียร์ซ ตีพิมพ์เมื่อปี 2014 ราคาเล่มและราวๆ 325 บาท
สรุป โชโตกัน
โชโตกัน คาราเต้-โดแห่งตระกูลฟุนาโกชิ ที่เชื่อกันว่า อิงต้นฉบับมาจากชูริ-เต ศิลปะต่อสู้ของโอกินาว่า และถือกำเนิดเป็นทางการในปี 1936 ซึ่งประกอบด้วยคาตะ และเทคนิคมากกว่า 180 รูปแบบ อีกทั้งยังนิยมฝึกฝน ในกลุ่มผู้มีชื่อเสียงทั่วโลกอีกด้วย
อ้างอิง
[1] International Shotokan Karate Federation. (2024). History of Shotokan Karate. Retrieved from sites.psu
[2] The Karate Blog. (October 20, 2021). Shotokan-Karate Techniques. Retrieved from thekarateblog
[3] Wikipedia. ( May 5, 2024). List of Shotokan-organizations. Retrieved from en.wikipedia