เรือแคนูโปโล (Canoe Polo) หรือรู้จักผ่านชื่อ โปโลเรือคายัค (kayak Polo) หนึ่งในกีฬาทางน้ำ ที่รวมเอา 2 ทักษะไว้ด้วยกัน คือ การพายเรือ และการตีลูกบอล ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากไหน เล่นยังไง มีอุปกรณ์ใดบ้าง อ่านต่อด้านล่าง
แนะนำให้รู้จัก เรือแคนูโปโล กีฬาทางน้ำลูกผสม
เรือแคนูโปโล เป็นกีฬาที่แข่งขันบนเรือ ประเภททีม ในรูปแบบสนาม 4 เหลี่ยมผืนผ้า เล่นได้ทั้งสระน้ำแบบเปิด-ปิด โดยเป็น Sport อีกหนึ่งประเภท ที่มีการหยิบยกเอา "โปโลน้ำ" ไปผสมผสาน เช่นเดียวกับ ฮอกกี้ใต้น้ำ ซึ่งมัดรวมเข้ากับการพายเรือคายัค และต้องตีลูกบอล พร้อมกับควบคุมเรือ ด้วยมือหรือไม้พาย
โดยเรือที่ใช้แข่งขัน ถูกดีไซน์โดยเฉพาะ ให้มีน้ำหนักเบา และเร็วกว่าเรือคายัคทั่วไป ซึ่งจะทำให้ นักกีฬามีความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งใบพายเรือ ยังถูกทำให้เป็นแบบโค้งมน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้ไม้พายเรือ ยังถูกออกแบบโดย การคำนึงถึงพลังดึง และการควบคุมบอลอีกด้วย
ต้นกำเนิด เรือแคนูโปโล จากศตวรรษที่ 19
เรือแคนูโปโล มีต้นกำเนิดขึ้น ในปลายศตวรรษที่ 19 ณ บริเตนใหญ่ และมีลักษณะการเล่นดั้งเดิม ในสหรัฐอเมริกา และบางส่วนของยุโรป กระทั่งช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 มีการแข่งขันระดับนานาชาติ ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 1971 ประเทศอังกฤษ
แต่กฎการเล่นสากล ถูกเผยแพร่ในปี 1986 จากสหพันธ์เรือแคนูสากล หรือ ICF ในปีต่อมา กีฬาชนิดนี้ ได้รับการสาธิตในงาน Canoe Sprint World Championships ประเทศเยอรมนี และในปี 1990 ทางสหพันธ์โลก ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับ กฎการเล่นอย่างเป็นทางการ
หลังจากนั้น การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 1 ถูกจัดขึ้นเมื่อปี 1994 ประเทศอังกฤษ โดยชาติที่คว้าแชมป์ทั้งชาย-หญิง คือประเทศออสเตรเลีย จนถึงเมื่อปี 2005 เรือแคนู-โปโล เปิดตัวครั้งแรกที่ The World Games หรือการแข่งขันกีฬาทั่วโลก ที่ไม่ใช่โอลิมปิกเกมส์ [1]
กฎทั่วไปของ เรือแคนูโปโล เล่นกันยังไง
ในการแข่งขัน แต่ละทีมจะมีผู้เล่นสูงสุด 8 คน แบ่งเป็นตัวจริง 5 ตัวสำรอง 3 โดยใช้เวลาแข่งขัน 2 ช่วง ช่วงละ 10 นาที และอาจมีการต่อเวลาพิเศษ ซึ่งช่วงเวลาพักระหว่างครึ่งคือ 3 นาที พื้นที่สระน้ำยาว 35 ซม. กว้าง 23 เมตร ลึกอย่างน้อย 90 ซม. และมีกติกาดังนี้
กรณีบอลไม่อยู่ในการเล่น
- หากมีส่วนใดของลูกบอล สัมผัสเส้นข้างหรือระนาบข้างสระ หรือสิ่งกีดขวางเหนือศีรษะ ทีมที่ไม่ได้เตะบอลทีมสุดท้าย จะได้รับสิทธิ์ขว้างบอลจากข้างสระ (คล้ายๆ กับเตะมุมในฟุตบอล)
- ผู้เล่นที่จะขว้างบอลข้างสระ ต้องจอดเรือไว้ใกล้กับจุด ที่บอลออกไปโดนมากที่สุด
- หากบอลออกไป โดนกับแนวของกรอบประตู หรือทีมรับทำฟาวล์ในพื้นที่โอกาส ทีมตรงข้ามจะได้การโยนบอลจากมุม หรือเส้นประตู
การทำฟาวล์
- เปลี่ยนตัวผิดกฎ หรือมีผู้เล่นลงสนามมากกว่า 5 คน
- ครองลูกบอลผิดกฎ หรือการยื้อเวลาเกิน 5 วินาที หลังจากได้ครอบคองบอล
- ใช้มือผิดกติกา โดยใช้แรงผลักจากทั้งแขน ร่างกาย หรือไม้พายทีมตรงข้าม
- การแย่งชิงเรือคายัค ที่มีการสัมผัสกัน ต่อผู้เล่นที่ห่างจากระยะบอล 3 เมตร
- ใช้ไม้พายเมื่อบอลอยู่ใกล้คู่แข่ง ไม้พายสัมผัสทีมตรงข้าม หรือการใช้ใดๆ ที่ทำให้เกิดอันตราย
- การกระแทก เมื่อผู้เล่นอยู่ในตำแหน่ง และถูกชนหรือผลัก ออกไปมากกว่าครึ่งเมตร
- ผู้เล่นที่จงใจขัดขวางทีมตรงข้าม ที่ไม่ได้อยู่ใกล้บอลในระยะ 3 เมตร
- ผู้เล่นที่ใช้อุปกรณ์ ขวางทางโดยรอบพื้นที่ เช่น ประตู, เส้นข้าง หรือผนังสระ
- ไม่มีน้ำใจ ใช้ภาษาหยาบคาย ชะลอกลยุทธ์ หรือการกระทำที่ส่งผลเสียต่อการแข่งขัน
การฟาวล์ที่ร้ายแรง
- จงใจทำฟาวล์ จะได้รับการ์ดสีเขียว
- ฟาวล์ที่เป็นอันตราย สัมผัสฝ่ายตรงข้าม ที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บใดๆ
- การสัมผัสที่มีแรงกระแทกแรง และต่อเนื่องกัน
ที่มา: General rules [2]
การให้คะแนน เรือแคนูโปโล และอุปกรณ์ใช้เล่น
การแข่งขัน เรือแคนูโปโล ประกอบด้วย 2 ผู้ตัดสิน โดยจะยืนอยู่เส้นข้างละคน ซึ่งจะเดินมากกว่าอยู่บนเรือ เมื่อใครทำประตูได้ ผู้ตัดสินจะแสดง Number ผู้เล่นให้ทำผู้นับคะแนนทราบ และหลังจากทำประตูได้แล้ว ต้องกลับไปยังเขตแดนตัวเองใน 10-15 วินาที ส่วนอุปกรณ์ใช้เล่น มีดังนี้
- ลูกบอล : สร้างจากวัสดุลอยน้ำได้ ขนาดต่างกันตามประเภทแข่งขัน เช่น ชาย หญิง หรือรุ่นจูเนียร์
- อุปกรณ์ช่วยพยุง : ต้องมีโฟมหนา 1 นิ้ว ประกบด้านหน้า หลัง และด้านข้าง
- หมวกกันน็อก และอุปกรณ์ช่วยเชฟใบหน้า : เป็นสิ่งจำเป็น และอยู่ในข้อบังคับ
- ประตู : โครงเหล็กยาว 1 เมตร กว้าง 1.5 เมตร ถูกแขวนเหนือน้ำ 2 เมตร
- เรือ : สร้างขึ้นเฉพาะ มีโฟมป้องกัน 1 นิ้ว รอบปลายทั้งสองข้างของเรือ
- ไม้พาย, กระดาน : ใช้กระดานเพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำเข้าเรือ
ทัวร์นาเมนต์แข่งขัน เรือแคนูโปโล นานาชาติ
กีฬา เรือแคนูโปโล จัดแข่งชิงแชมป์โลกทุกๆ 2 ปี ตั้งแต่ 1994 รวมถึงแข่งชิงแชมป์ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และ Pan American Continental ภายใต้การดูแลของ สหพันธ์เรือแคนูนานาชาติ (ICF) ซึ่งประเทศที่เป็นเจ้าเหรียญทอง คว้าแชมป์โลกมากสุด มีดังนี้
ประเภทชาย (1994-2022)
- ฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ : คว้า 3 ทอง 2 เงิน 1 ทองแดง
- ออสเตรเลีย : คว้า 3 ทอง
- เยอรมนี : คว้า 2 ทอง 5 เงิน 3 ทองแดง
- บริเตนใหญ่ : คว้า 2 ทอง 1 เงิน 2 ทองแดง
- อิตาลี : คว้า 1 ทอง 3 เงิน 4 ทองแดง
- สเปน : คว้า 1 เงิน 3 ทองแดง
ประเภทหญิง (1994-2022)
- เยอรมนี : ชนะ 7 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง
- บริเตนใหญ่ : ชนะ 4 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน
- ออสเตรเลีย : ชนะ 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง
- นิวซีแลนด์ : ชนะ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน
- ฝรั่งเศส : ได้รับ 2 เหรียญเงิน 8 เหรียญทองแดง
- อิตาลี : ได้รับ 2 เหรียญทองแดง
- เนเธอร์แลนด์ : ได้รับ 1 เหรียญทองแดง
ที่มา: ICF Men's & Women's Canoe-Polo World Championships [3]
รายการ Asian Cup 2019 เรือแคนูโปโล กับทีมชาติไทย
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 ในการแข่งขัน Canoe-Polo Asian Cup เมื่อวันที่ 24 ถึง 27 ตุลาคม จัดขึ้นที่เมืองเต๋อชิง ประเทศจีน นักกีฬาเรือคายัคโปโลไทย คว้าอันดับ 3 จากประเภทหญิง รุ่นอายุ U-21 มาครองได้ [4]
รองลงมาคือมาเลเซียอันดับ 4 และอินเดียอันดับ 5 ส่วนรองแชมป์เป็นของ Chinese Taipel และทีมชาติจีนเป็นผู้คว้าแชมป์ ด้วยการชนะ 4 ครั้งรวด
สรุป เรือแคนูโปโล
เรือแคนูโปโล อีกหนึ่งกีฬาไฮบริด ที่มัดรวมเอา 2 ทักษะต่างกันสุดขั้ว อย่างโปโลน้ำและพายเรือเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการแข่งขัน มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และถึงแม้จะไม่ถูกบรรจุไว้ใน Olympic Games แต่ถือว่าเป็นกีฬาจากฝั่งยุโรป ที่คนนิยมเล่นไม่น้อย อีกทั้งมีทัวร์นาเมนต์ทางการอีกเพียบ
อ้างอิง
[1] International Canoe Federation. (2024). What is Canoe-Polo?. Retrieved from canoeicf
[2] Sportsmatik. (June 14, 2022). General rules. Retrieved from sportsmatik
[3] Wikipedia. (July 10, 2023). ICF Men's & Women's Canoe-Polo World Championships. Retrieved from en.wikipedia
[4] สมาคมกีฬาเรือพายแห่งประเทศไทย. (2018-2024). Canoe-Polo Asian Cup 2019. Retrieved from rcat