เคียวคุชิน (Kyokushin) สไตล์คาราเต้แบบยืนสู้ฟูลออปชัน ที่เน้นย้ำถึงความแข็งแกร่ง อดทน การฝึกที่สมจริง และใช้อุปกรณ์เพียง 2 อย่าง คือ Mouth Guard และป้องกันขาหนีบ ทำให้มักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบ “ยากที่สุด” ของคาราเต้ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม อ่านต่อด้านล่าง
แนะนำให้รู้จัก เคียวคุชิน / 極真
เคียวคุชิน (極真) มาจาก 4 คำภาษาญี่ปุ่นว่า “เคียวคุชินไคกัง” โดยมีความหมายว่า Kyoku : ขั้นสูงสุด, Shin : ความจริงจากภายใน, Kai : การพบปะ และ Kan : สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งรวมกันเป็นปรัชญาได้ว่า สังคมแห่งความจริงขั้นสุด ที่แสดงถึงความเชื่อของผู้ก่อตั้ง
ย้อนไทม์ไลน์ เคียวคุชิน ถือกำเนิดขึ้นได้ยังไง
ในช่วงแรกของปี ค.ศ. 1953 ผู้สร้างอย่างมาสุทัตสึ โอยามะ (Masutatsu Oyama) เปิดสำนักแห่งแรกในชื่อตัวเอง เพื่อสอนคาราเต้สไตล์โกะจูริว ที่เน้นคุมิตะโดยตรง ด้วยการแทงหรือเตะ ซึ่งต่างจากสำนักอื่นๆ หลังจากนั้นไทม์ไลน์การก่อตั้ง Kyokushin ก็ได้เริ่มขึ้น ดังนี้
- 1956 : โอยามะเปลี่ยนชื่อสำนักเป็น “โอยามะโดโจ”
- 1959 : ฮิโรฟูมิ โอกาดะ เป็นลูกศิษย์คนแรกของโรงเรียน ที่ได้รับสายดำดั้งแรก
- 1964 : โอยามะก่อตั้งองค์กร International Karate Organization Kyokushin kaikan หรือ IKO / IKOK
- 1969 : มีการจัดแข่งขัน All-Japan Full Contact Karate Open Championships ครั้งแรก
- 1975 : การแข่งขัน World Full Contact Karate Open Championships ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว
- 1980 : จอน บลูมิง อาจารย์สอนชาวดัตช์ ออกจากองค์กร IKO แล้วก่อตั้ง Budo Kai Kan
- 1991 : สตีฟ อาร์นีล นำสไตล์บริทิชคาราเต้ออกจาก IKO เพื่อก่อตั้งสหพันธ์คาราเต้นานาชาติ (IFK)
- 1994 : โอยามะเสียชีวิตในวัย 70 ปี ทำให้องค์กร IKO เกิดตัววุ่นวาย เนื่องจากเขาไม่ได้ระบุผู้สืบทอดตำแหน่งไว้
- 1995 : องค์กรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ IKO-1 นำโดยโชเค มัตสึอิ และ IKO-2 นำโดยยูกิโอะ นิชิดะ
ที่มา: History [1]
หลักพื้นฐานของ เคียวคุชิน มีอะไรบ้าง
หลักการฝึกพื้นฐานของ Kyokushin-Karate ต่างจากแนวอื่น คือมีการฝึกฝนอย่างหนัก ไม่ใช่แค่ทำตามเทคนิค แต่อาศัยพละกำลังด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนในชื่อย่อตัว “K” ได้แก่ คาตะ, คุมิเตะ และคิฮอน โดยสามารถสรุปหลักปรัชญาให้เข้าใจง่าย ได้ดังนี้
- คาตะ : รูปแบบการสู้เพื่อสาธิต ที่จัดเตรียมไว้ก่อนแล้ว ประกอบด้วยคาตะเหนือ คาตะใต้ และคาตะอุระ ช่วยพัฒนาสมดุล ความลื่นไหล รวมถึงการเคลื่อนที่แม่นยำ
- คุมิเตะ : การต่อสู้จริงๆ แบบตัวต่อตัว เปรียบเสมือนการทดสอบทักษะ ในสถานการณ์ที่สามารถควบคุมได้
- คิฮอน : เทคนิคขั้นเบสิก ต้องฝึกให้ผ่านทุกทักษะ จึงจะเลื่อนไปฝึกขั้นแอดวานซ์ได้
- มูชิน : สภาวะควบคุมจิตใจ ไม่ให้มีอารมณ์ใดๆ ช่วยให้ผู้ฝึกจดจ่อกับปัจจุบัน และสามารถตอบโต้ได้โดยไม่ลังเล
- โอสึ : คำที่ใช้เคารพต่อคนอื่น แสดงถึงการยอมรับ และความทุ่มเทในการฝึก
ที่มา: Basic Principles of Kyokushin-Karate (Philosophy) [2]
การจัดอันดับสายคาด เคียวคุชิน เป็นแบบไหน
ระบบจัดอันดับสายของ เคียวคุชิน มีทั้งหมด 12 สายหลัก เริ่มตั้งแต่มูคิวสายขาว, คิวที่ 10 สายสีส้ม, คิวที่ 9 สายสีส้มแถบน้ำเงิน, คิวที่ 8 สายน้ำเงิน, คิวที่ 7 สายน้ำเงินแถบเขียว, คิวที่ 6 สายสีเหลือง, คิวที่ 5 สายสีเหลืองแถบส้ม, คิวที่ 4 สายสีเขียว
คิวที่ 3 สายสีเขียวแถบน้ำตาล, คิวที่ 2 สายน้ำตาล และคิวที่ 1 สายน้ำตาลแถบดำ และสายดำย่อยออกไปอีก 10 ระดับ ประดับด้วยแถบสีทอง โดยมีคำเรียกเฉพาะ เริ่มจากโชดัน, นิดาน, ซันดัน, ยอนดัน, โกดัน, โรกุดัน, ชิจิดัน, ฮาจิดัน, คิวดัน และจูดัน
ท่าทาง-ประเภทการเตะ เคียวคุชิน พร้อมคำศัพท์เฉพาะ
ท่าทาง (ดาชิ)
- ฟูโดะ : นิ่งเฉย
- เฮโกะ : ยืนขนาน
- คิบะ : ท่าคล้ายขี่ม้า
- โคคุสึ : ท่าการยืนหลัง
- มุสุบิ : ท่าทีเอาใจใส่
- ซันชิน : 3 ศึก
- ชิโกะ : ซูโม่
- โยอิ : เตรียมพร้อม
- เซ็นคุตสึ : ท่าการยืนด้านหน้า
ประเภทการเตะ (Kicks)
- อาชิ บาราอิ : กวาดเท้า
- ฟูมิโคมิ : เตะกระทืบ
- โยโกะ โทโบ เกะริ : แทงเข่า
- โยโกะ เกะริ : เตะขาหนีบ
- โทบิ อุชิโระ เกะริ : เตะหน้า
- โทบิ เกะริ : กระโดดเตะ
- มีเกะริ : กระโดดเตะสวนกลับ
- คิน เกะริ : เตะข้างลำตัว
- ฮิซา เกะริ : ลอยเตะด้านข้าง
ที่มา: Kyokushin-Stances, Kyokushin-Kicks [3]
จากระบบต่อสู้สู่แฟรนไชส์หนัง เคียวคุชิน
จากระบบการต่อสู้ของโอยามะ สู่การสร้างหนัง 2 เวอร์ชัน ภาคแรก Kenka karate kyokushin burai ken ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1975 จากผู้กำกับคาซึฮิโกะ ยามากูจิ และนำแสดงโดยจิโระ ยาบุกิ, ชินอิจิ ชิบะ และซึโตมุ ฮาราดะ ความยาวหนัง 1 ชม. 25 นาที ได้รับคะแนนวิจารณ์จาก IMDb 6.6/10
ส่วนเวอร์ชันต่อมา Kenka karate kyokushinken เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมปีเดียวกัน ความยาวหนัง 1 ชม. 27 นาที จากผู้กำกับคนเดิม แต่เปลี่ยนนักแสดงนำเป็น จุน ฟูจิมากิ, บิน อามัตสึ และยังมีชินอิจิ ชิบะ ได้คะแนนวิจารณ์จาก IMDb 6.6/10 เท่ากัน
ซึ่งทั้งสองเวอร์ชัน บอกเล่าเรื่องราวต่อเนื่องกัน สร้างขึ้นจากเรื่องจริง ของนักคาราเต้ชาวเกาหลีใต้ ชื่อว่า ชเว แบดัล ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น มาสุทัตสึ โอยามะ ผู้สร้างสรรค์คาราเต้สไตล์ เคียวคุชิน หรือสามารถคลิกดูรีวิวหนังเพิ่มเติมได้ที่ Kenka karate kyokushin burai ken และ Kenka karate kyokushinken
สรุป เคียวคุชิน
เคียวคุชิน คาราเต้แบบยืนสู้เต็มระบบ ที่ไม่เน้นแค่เทคนิค แต่เน้นการใช้กำลังด้วย โดยถือกำเนิดขึ้นราวๆ ปี 1953 จากมาสุทัตสึ โอยามะ ชาวเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ที่ได้ฉายาว่า เป็นสไตล์คาราเต้ยากที่สุดรูปแบบหนึ่ง แต่ในปัจจุบัน มีสถาบันมากกว่า 1,000 แห่งใน 123 ประเทศ พร้อมผู้ฝึกกว่า 12 ล้านคน
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (July 12, 2024). History. Retrieved from en.wikipedia
[2] Combatpit.com. (November 26, 2023). Basic Principles of Kyokushin-Karate (Philosophy). Retrieved from combatpit
[3] The Karate Blog. (October 18, 2021). Kyokushin-Stances, Kyokushin-Kicks. Retrieved from thekarateblog