อาร์นิส (Arnis) เป็นหนึ่งในศาสตร์การต่อสู้ และกีฬาประจำชาติฟิลิปปินส์ ที่เน้นรูปแบบต่อสู้โดยใช้อาวุธ 12 เทคนิค และมือเปล่า ซึ่งเคยอยู่ในลิสต์รายชื่อกีฬาพื้นบ้าน ในมหกรรมกีฬาซีเกมส์
รวมถึงการเสนอชื่อ ให้เป็นมรดกกีฬา ที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO ซึ่งกีฬานี้มีประวัติยังไง รูปแบบการเล่นแบบไหน จะคล้ายกับศิลปะต่อสู้ใดบ้าง เราจะพาไปดู
นิรุกติศาสตร์ อาร์นิส ชื่อนี้มาจากไหน
อาร์นิส คำจากภาษาสเปน arnés หมายถึง “ชุดเกราะ” และรู้จักในอีก 2 ชื่อ ได้แก่ Eskrima หมายถึงฟันดาบในภาษาสเปน ส่วนอีกชื่อคือ kali คำภาษาฟิลิปปินส์โบราณ แปลว่าการใช้มีด และฟันดาบกาลิส ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับ ศิลปะการต่อสู้ใช้อาวุธของฟิลิปปินส์
ฮิตสตอรี่ อาร์นิส มีความเป็นมายังไง
มีการสันนิษฐานว่า ศาสตร์ต่อสู้กาลี เกิดขึ้นโดยชาวฟิลิปปินส์ ในเกาะลูซอน และหมู่เกาะวิสซายา ยุคที่สเปนครองอาณานิคม โดยมีการใช้ไม้ และปลอมศิลปะต่อสู้เป็นการเต้นรำ ซึ่งปรมาจารย์ชื่อว่า ดิโอนิซิโอ กาเญเต (Dionisio Cañete) กล่าวว่า
ศิลปะการต่อสู้นี้ กำเนิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 โดยมีวัตถุประสงค์ คือใช้ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคม กระทั่งปี 1918 สโมสรแห่งแรก สร้างขึ้นโดย Lorenzo และ Teodoro ก่อนจะถูกปิดลงในหลายปีต่อมา
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1989 สหพันธ์ World Eskrima-Kali-Arnis ได้เลือกให้ Cañete เป็นประธานองค์กร พร้อมกำหนดกฎและเงื่อนไข สำหรับการแข่งขันมืออาชีพ ก่อนที่กีฬาชนิดนี้ จะถูกยอมรับให้เป็น “กีฬาประจำชาติ” ฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2009 [1]
ยุคสมัยใหม่ของ อาร์นิส กับรายการใหญ่
หลังจากประกาศให้เป็น Philippine national sport กีฬากาลีมีรายการแข่งขัน ทั้งในท้องถิ่น และนานาชาติ ซึ่งได้แรงดลใจ มาจากศิลปะการต่อสู้หลายแขนง ที่ช่วยพัฒนาเอสคริมาสมัยใหม่ เช่น ศิลปะการต่อสู้แบบจีน, ศิลปะการต่อสู้ของอินเดีย, ปันจักสีลัต เป็นต้น
โดยรูปแบบยอดนิยม คือระบบจากสหพันธ์อินเทอร์เนชันแนล (WEKAF) เป็นกีฬาการต่อสู้สัมผัสตัว ที่มีเครื่องแบบ อุปกรณ์ป้องกัน และให้คะแนนตามความแม่นยำ ของเทคนิคที่ใช้ รวมระดับการโจมตี ทั้งในประเภทคู่และเดี่ยว ซึ่งทัวร์นาเมนต์ที่ใหญ่สุด คือมีรายชื่อในกีฬาสาธิตซีเกมส์ 1991
ก่อนจะถูกบรรจุเป็นทางการ เมื่อปี 2005 และ 2019 ในโควตากีฬาพื้นฐาน ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ [2] กระทั่งล่าสุดปี 2023 ประเทศกัมพูชา บรรจุกีฬานี้ในโควตากีฬาพื้นบ้านซีเกมส์ โดยมี 5 ประเทศที่เคยได้เหรียญทอง ได้แก่ ฟิลิปปินส์, เมียนมา, เวียดนาม และกัมพูชา
วัฒนธรรมการต่อสู้ อาร์นิส ในวงการภาพยนตร์
การต่อสู้แบบประชิดที่รวดเร็วอย่าง อาร์นิส ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ Hollywood หลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น
- ล่าจารชน ยอดคนอันตราย / The Bourne Identity (2002) : นำเสนอการต่อสู้ไฮบริด ระหว่างกาลีและเจตคุณ ฉากที่เจสันบอร์นพบกับจาร์ดา
- เร็ว..แรงทะลุนรก 7 / Furious 7 (2015) : ฉากที่วินดีเซล และเจสัน สเตแธม ร่วมมือกันต่อสู้ โดยใช้ท่อเหล็กและประแจ ในฉากปิดท้ายของหนัง
- เกรียนโคตรมหาประลัย / Kick-Ass (2010) : ตัวละครชื่อเดียวกับหนัง ต่อสู้กับผู้ร้ายด้วยอาวุธไม้ และคู่หูชื่อว่า Hit-Girl ใช้มีดบาลิซอง
- สู้ไม่รู้จักตาย / Taken (2008) : เลียมนีสันใช้ arnis, หวิงชุน และสีลัต ในฉากช่วยลูกสาวจากคนร้าย หรือสามารถรับชมเต็มๆ ได้บนแพลตฟอร์ม Monomax
- 007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก / Quantum of Solace : เจมส์ บอนด์ ต่อสู้กับนักฆ่า ด้วยศาสตร์ต่อสู้ฟิลิปปินส์ ในแฟรนไชส์ภาคต่อ 2008
ที่มา: Arnis in popular culture: Hollywood [3]
ระบบการแข่ง อาร์นิส ฟิลิปปินส์ & ต่างประเทศ
ระบบการแข่งขันกาลี แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สหพันธ์เอสคริมากาลีอาร์นิสโลก (WEKAF) ที่ใช้ในสากล โดยเริ่มก่อตั้งในปี 1989 แข่งขันผ่านระบบ 10 แต้มชนะ คล้ายกับการชกมวย และต่อสู้ด้วยอาวุธไม้ ซึ่งมีข้อบังคับ คือห้ามตีใต้ต้นขา แต่จะเน้นใช้เทคนิคป้องกันตัว
ส่วนแบบที่สอง คือ ระบบ Arnis-Philippines (ARPI) ก่อตั้งขึ้นก่อน WEKAF แต่ในปีเดียวกัน มีการคิดคะแนนคล้ายกีฬาฟันดาบ มีผู้ตัดสินหลายคน โดยจะแข่งด้วยการใช้ไม้บุนวม ห้ามเตะ ต่อย ขว้าง มีการปลดอาวุธ และตัดผู้แพ้-ชนะ จากเสียงของผู้ชม
ซึ่งทั้งหมดมีอุปกรณ์ ดังนี้ อาวุธกระแทก, อาวุธมีด, อุปกรณ์สวมศีรษะ, ชุดเกราะ, Leg Guard, Groin, ถุงมือ, เสื้อทำขึ้นเฉพาะ พร้อมเข็มขัด โดยมีตั้งแต่สายขาว (ฝึกหัด), สายเหลือง (ระดับกลาง 1), สายเขียว (ระดับกลาง 2), สายฟ้า (ระดับกลาง 3), สายน้ำตาล (ขั้นสูง) และสายดำตั้งแต่อาจารย์ระดับ 1 ถึงปรมาจารย์
กฎพื้นฐาน อาร์นิส พร้อมกติกาการแข่งขัน
กฎพื้นฐาน
- เล่นโดย 2 คน ในสนามความสูง 8 เมตร พื้นผิวเรียบสะอาด
- จับคู่แข่งขันตามประเภทน้ำหนัก
- สภาพอากาศทั้งแข่งกลางแจ้ง และในร่ม อยู่ระหว่าง 25 องศาเซลเซียส
- ก่อนเริ่มเกม ผู้เล่นฝั่งแดงอยู่ด้านขวาผู้ตัดสิน ฝั่งน้ำเงินอยู่ด้านซ้ายมือ
ทีมงาน
- อาจประกอบด้วยผู้เล่น เฮดโค้ช ผู้ฝึกสอน แพทย์สนาม ทีมงานละ 1 คน และผู้ตัดสิน 2 คน ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงาน i-ARNIS
การทำฟาวล์
- หากตีหรือแทงไปที่ขาหนีบ
- การป้องกันโดยใช้ส่วนแขน
- หากตีหรือแทงด้วยมือ 2 ข้าง
- หากกดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายคู่แข่ง
- ถ้าขาก้าวออกจากพื้นที่ Play Zone
- การตีตำแหน่งหลัง (ศีรษะ-ก้น) ยกเว้นคู่แข่งตั้งใจหันหลังให้
- ถ้าถ่วงเวลาเกิน 10 วินาที
- ถ้าโจมตีติดต่อกัน หรือแทงส่วนใดของร่างกาย
- มีระบบทำฟาวล์ 3 ระดับ คือ F1, F2 และ F3
- เมื่อทำฟาวล์ 3 ครั้ง จะถูกตัดสินแพ้ทันที
- โจมตีเมื่อมีคำสั่งฮินโด (หยุด) หรือฮิวาเลย์ (แยกกัน)
ที่มา: Basic rules, component, qualifications, Foul [4]
สรุป อาร์นิส
เอสคริมา เป็นกีฬาการต่อสู้ ที่ดีสุดอีกหนึ่งแขนง ซึ่งกำเนิดขึ้นในฟิลิปปินส์ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันผู้ล่าอาณานิคม กระทั่งกลายมาเป็น กีฬาประจำชาติ ที่โดดเด่นด้วย 12 เทคนิค และอาวุธหลากหลาย แถมยังไปปรากฏทั้งในโลกภาพยนตร์ และเวทีใหญ่สุดของเอเชียอย่างซีเกมส์อีกด้วย
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (May 20, 2024). Arnis in the Philippines. Retrieved from en.wikipedia
[2] Muaythai.com. (October 30, 2023). Modern Eskrima, Arnis, Kali. Retrieved from muaythai
[3] The Culture Trip. (September 2, 2022). Arnis in popular culture: Hollywood. Retrieved from theculturetrip
[4] Sportsmatik. (December 21, 2023). Basic rules, component, qualifications, Foul. Retrieved from sportsmatik