ว่าด้วยเรื่องตำนานของ ลาดอน (Ladon) หนึ่งในมังกรแห่งเทพเจ้ากรีก มีรูปร่างคล้ายกับ ไฮดราแห่งเลอร์นา เป็นงูใหญ่ 100 ร้อย ทำหน้าที่จากเทพีเฮร่า ให้ปกป้องแอปเปิลทองคำ ในสวนเฮสเปเรียน และตกเป็นภารกิจที่ 11 ของเฮราคลีส ส่วนข้อมูลอื่นๆ ตามเราไปศึกษาด้านล่าง
ที่มาของชื่อ ลาดอน หมายถึงอะไร
ลาดอน หรือ มังกรเฮสเปเรียน ไม่มีความเป็นมา ว่าชื่อนี้ตั้งขึ้นจากอะไร แต่มีสมมุติฐานว่าหมายถึง “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลก” หรืองูขนาดใหญ่บนพื้นดิน นอกจากนี้ ชื่อเรียกอย่าง Ladon ยังใช้คำคล้ายกับมังกรตัวอื่น ซึ่งส่วนใหญ่สะกดลงท้ายด้วย on เช่น Typhon เป็นต้น [1]
ทำความรู้จัก ลาดอน เป็นใครในตำนานกรีก
ตามความคิดเห็น ของกวีเฮเซียด กล่าวว่ามันอาจเป็น ทายาทตัวสุดท้าย ที่สืบเชื้อสายมาจาก เทพแห่งท้องทะเล “ฟอร์ซีส” และเทพีท้องทะเล “เซโต” ในขณะที่คำอธิบายของ อพอลโลเนียสแห่งโรดส์ อ้างว่าเฮเซียดเรียกมังกรตัวนี้ ว่าเป็นบุตรของ ไทฟอน
อีกทั้งยังมีนักเขียนคนหนึ่ง อ้างว่า Peisandros เรียกมังกรร้อยหัวว่า เกิดมาจากพื้นดิน ส่วนนักปราชญ์ในหนังสืออพอลโลโดรัส กล่าวว่า มันเป็นสายเลือดของไทฟอน และอีคิดนา ซึ่งเป็นความคิดเดียวกันกับไฮจินัส และเฟเรไซดีส แถมยังมีคนบันทึกไว้ว่า มันเป็นพี่ชายของ สิงโตนีเมียน อีกด้วย [2]
ในเวอร์ชันอื่น หลายคนเชื่อว่า มันรับอิทธิพลมาจาก Lotan สัตว์ประหลาดจากประเพณีชาวอาโมไรต์ แถมยังเชื่ออีกว่า Lotan สืบต้นกำเนิดมาจาก Temtum งูในตราประทับซีเรีย เมื่อศตวรรษที่ 18-16 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่าโลธาน รับแรงบันดาลใจต่อจาก เลวีอาธาน งูในพระคัมภีร์ฮีบรู
หน้าตาของ ลาดอน มีลักษณะเป็นอย่างไร
ในสมัยก่อน มันเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายงูยักษ์ พันรอบต้นแอปเปิล โดยมีชาวกรีกนามว่า อริสโตฟาเนส บรรยายถึงเจ้าสิ่งนี้ว่า
- เป็นสัตว์ร้าย มีหลายหัวไปจนถึง 100 หัว และไม่เคยหลับใหล
- นอกจากนี้ยังเชื่อว่า มันเลียนแบบได้กว่า 100 เสียง
- สามารถมองเห็นได้ทุกทิศทาง [3]
- ส่วนในอีกตำนาน บอกว่ามันเป็นงู ไม่มีปีก
- ลำตัวยาว มีเกล็ดสีดำหรือแดง
- แต่ในงานศิลปะต่างๆ พรรณนาว่ามีหัวเดียวหรือ 3 หัว
- นักวิชาการส่วนน้อย บอกว่ามีปีกเหมือนมังกร
- แล้วอีกบางกลุ่มเพิ่มข้อมูลว่า มันมีลมหายใจเป็นไฟร้อนแรง [4]
บทบาทและหน้าที่ ลาดอน ปกป้องอะไร
หน้าที่ของงูลาดอน เกี่ยวข้องกับเทพีเฮร่า ซึ่งได้รับสวน อยู่ติดขอบแม่น้ำโอเชียนนัส จากเทพีไกอา เป็นของขวัญแต่งงาน โดยมีต้นแอปเปิลสีทอง หากใครกินแล้วจะอมตะ เธอจึงตั้งแต่มังกรร้อยหัว ให้เป็นผู้พิทักษ์ เช่นเดียวกับเหล่านางไม้เฮสเปเรียน ธิดาของแอตลาส ที่ได้รับหน้าที่ร่วมกัน
ใครเป็นคนฆ่า ลาดอน มันเป็นอมตะหรือเปล่า
นิทานสุดเลื่องลือ เกี่ยวกับมังกรเฮสเปเรียน คือการเผชิญหน้ากับเฮราคลีส (เฮอร์คิวลีส) ในภารกิจที่ 11 ของเขา โดยต้องนำแอปเปิลทองคำ กลับไปให้กับกษัตริย์ ซึ่งการต่อสู้ถูกเล่าแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น
- เฮราครีสโน้มน้าวธิดาแอตลาส ไปเอาแอปเปิลมาให้
- ใช้ลูกธนูอาบเลือดของไฮดรา ยิงใส่มังกร
อีกเวอร์ชันหนึ่งเล่าว่า วีรบุรุษเจสัน และอาร์โกนอตส์ เดินทางกลับจากโคลคิส ผ่านโลกใต้พิภพ แล้วได้ยินเสียงของเอเกล หนึ่งในนางไม้ และพบกับมังกรร้อยหัว นอนกระตุกอยู่ ส่วนอีกตำนานเล่าว่า มังกรไม่ถูกฆ่าตาย เฮราคลีสเพียงทำให้มันสลบ แล้วออกกลอุบาย ให้ไททันแอสลาส ไปเอาแอปเปิลมาให้
เปรียบเทียบ ลาดอน กับมังกรตัวอื่นจากเรื่องเล่า
- มังกรเฮสเปเรียน VS ไฮดรา : งูทะเลหลายหัว ภารกิจที่ 2 ของเฮราคลีส ไฮดราเป็นสัตว์ร้ายที่ต้องเอาชนะ ตัวแทนความแข็งแกร่ง และอดทน ส่วนมังกรร้อยหัว เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องหลีกเลี่ยง ตัวแทนของผู้พิทักษ์ หรือหน้าที่จากพระเจ้า
- มังกรเฮสเปเรียน VS จอร์มุงกันเดอร์ : งูแห่งมิดการ์ด ตามตำนานเทพเจ้านอร์ส ตัวแทนความคาดหวัง ทำลายล้าง และฟื้นคืนชีพ เกี่ยวข้องกับแร็กนาร็อก ส่วนมังกรร้อยหัว มีบทบาทปกป้อง อาณาจักรของเทพีเฮร่า
- มังกรเฮสเปเรียน VS มังกรจีน : สิ่งมีชีวิตจากสวรรค์ ควบคุมน้ำ อากาศ เป็นตัวแทนความดี ผิดกับมังกรร้อยหัว ที่มีนิสัยนิ่งเฉย เป็นผู้คุ้มครอง เกาะติดอยู่กับแค่ต้นไม้
- มังกรเฮสเปเรียน VS เก็ตซัลโกอาตล์ : งูมีขนในตำนานแอซเท็ก เป็นผู้ให้ชีวิต หรือผู้ให้ความรู้ ส่วนมังกรร้อยหัว เป็นผู้ปกป้อง
ที่มา: Mythological Comparisons [5]
สรุป ลาดอน / Λάδων
มังกรหรืองู 100 หัว ผู้พิทักษ์แอปเปิลอมตะ เมื่อมันถูกสังหาร เทพเจ้าซูส ทำให้กลายเป็นกลุ่มดาวชื่อว่า Draco ซึ่งปรากฏทั้งในหนังสือ Astronomy ของนักเขียนชาวละติน และอยู่ใน 48 กลุ่มดาว ของนักดาราศาสตร์ชาวโรมัน โดยปัจจุบันสามารถมองเห็นได้ทั้งปี จากพิกัดละติจูดเหนือ
อ้างอิง
[1] Mythopedia. (March 24, 2023). Etymology. Retrieved from mythopedia
[2] Wikipedia. (February 10, 2024). Family. Retrieved from en.wikipedia
[3] Ancient Literature. (July 5, 2022). Description of Ladon. Retrieved from ancient-literature
[4] Olympioi. (February 27, 2023). The beast, Depictions. Retrieved from olympioi
[5] Paleothea. (April 21, 2024). Mythological Comparisons. Retrieved from paleothea