มวยโบราณ (Muay Boran) หรือ มวยคาดเชือก ศิลปะต่อสู้ไทยเก่าแก่ ออริจินัลการโจมตีด้วยหมัด เข่า ศอก และท่าไม้ตายทรงพลัง ซึ่งเชื่อกันว่า กำเนิดขึ้นจากกองทัพสยาม เพื่อใช้ในการสู้รบ ส่วนข้อมูลอื่นๆ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบ มวยคาดเชือก VS มวยไทย ต่างกันหรือไม่? ไปดูกัน
แนะนำให้รู้จัก มวยโบราณ คืออะไร
มวยโบราณ เดิมทีเป็นคำเรียกรวมๆ ของศิลปะต่อสู้เก่าแก่ในไทย ซึ่งไม่ใช่รูปแบบกีฬา แต่เป็นการต่อสู้ ไร้อาวุธใดๆ ที่เกิดขึ้นในสนามรบ โดยดีไซน์เทคนิค เพื่อทำให้คู่ต่อสู้เสียหายสูงสุด โดยเฉพาะการโจมตีด้วยเข่าและศอก ที่อาจเป็นอาวุธสังหารได้ มีสไตล์คล้ายๆ กับ โบกาตอร์ ของกองทัพกัมพูชา ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจใช้ควบคู่มากับ กระบี่กระบอง
ต่อมามวยไทยโบราณ ถูกพัฒนามาเป็นการสู้ ในสนามตามหมู่บ้าน โดยระหว่างการแข่งขัน จะใช้มะพร้าวเจาะรูจุ่มน้ำ เป็นนาฬิกาจับเวลา ถ้ามะพร้าวจมลง นักสู้ถึงจะได้พักยก ก่อนที่จะดัดแปลงสู่ “มวยไทย” ที่กำหนดกติกา พร้อมเงื่อนไข เพื่อให้การสู้ปลอดภัย
ประวัติร่วมสมัย มวยโบราณ เป็นมายังไง
รากฐานของ มวยโบราณ มีข้อมูลที่ยังคลุมเครือ แต่เชื่อกันว่า เกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 13 โดยสอนให้กับทหาร และมีเทคนิคค่อนข้างรุนแรง ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 พระราชโอรสของกษัตริย์ ร.5 สิ้นพระชนม์ จึงมีรวมนักสู้ที่มีทักษะพิเศษ เพื่อมาแสดงในพิธีศพ
ซึ่งนักสู้ในตอนนั้น ประกอบด้วย แดง ไทยประเสริฐ (ภาคอีสาน), โชค จ.เชิงโชค (ภาคกลาง) และโชค ปรง จำนงค์ทอง (ภาคใต้) ที่ต่อมาได้รับยศเป็นท่านหมื่น ต่อมาจึงมีการจัดแข่งขัน ตามงานเทศกาล พร้อมด้วยกำเนิดเอกลักษณ์ คือนักสู้พันมือและแขนด้วยเชือกป่าน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2463-2473 กษัตริย์รัชกาลที่ 7 ทรงปรับปรุงศิลปะต่อสู้นี้ โดยการนำผู้ตัดสิน นวมชก เกณฑ์น้ำหนัก รวมถึงเวทีมวยสไตล์ตะวันตกมาใช้ พร้อมทั้งสั่งห้ามสู้ด้วย ทักษะมวยแบบดั้งเดิมบางอย่าง ซึ่งในปัจจุบัน มีมวยไทยโบราณหลายภูมิภาค [1] ดังเช่นเนื้อหาด้านล่าง
4 สไตล์ มวยโบราณ ประจำภูมิภาค
มวยคาดเชือกของไทย มีสไตล์การสู้ของทั้ง 4 ภาค และแบ่งออกได้มากกว่า 10 รูปแบบ อาทิเช่น มวยนวราช, มวยไชยสวัสดิ์, มวยพระเจ้าเสือ, มวยพระนคร แต่รูปแบบที่คนรู้จักเยอะสุด คือ มวยไชยา, มวยโคราช, มวยลพบุรี และมวยท่าเสา ที่เรานำมาให้รู้จัก ดังนี้
มวยลพบุรี > ภาคกลาง
- ถูกฝึกมาตั้งแต่ปี 1200 ก่อนที่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะเป็นยุครุ่งเรือง มีการแข่งขันจริงจัง โดยมีจุดเด่นคือ มีเทคนิคการออกหมัดที่ฉลาด รุก-รับคล่องตัว หมัดตรงแม่นยำ หรือเรียกว่า “มวยเกี้ยว”
มวยโคราช > ภาคอีสาน
- ต้นแบบจากนครราชสีมา รู้จักเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 มีการฝึกทั่วหัวเมืองในไทย ทั้งยังถูกใช้แข่งขัน สำหรับงานสำคัญต่างๆ ซึ่งหมื่นแดง ไทยประเสริฐ ก็เป็นชาวโคราชเช่นกัน
มวยไชยา > ภาคใต้
- มวยจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ริเริ่มคือหลวงพ่อมา อดีตทหารในรัชกาลที่ 3 ก่อนที่ปรง จำนงค์ทอง จะทำให้มวยไชยา มีคนรู้จักในรัชกาลที่ 5 ซึ่งจุดเด่นคือ มีทักษะต่อสู้ 7 ด้าน และทักษะ "ป้อง ปัด ปิด เปิด"
มวยท่าเสา > ภาคเหนือ
- ต้นกำเนิดไม่ชัดเจน มีแค่ครูมวยชื่อว่า ครูเมฆ ที่ทำคนรู้จักมวยท่าเสา มีความเด่นด้านลีลา และทักษะทรงประสิทธิภาพ เช่น เตะ ถีบ ศอก โดยมีลูกศิษย์เลื่องชื่ออย่าง นายทองดี หรือ พระยาพิชัยดาบหัก
10 ท่าแม่ไม้ มวยโบราณ ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก
- หนุมานถวายแหวน : ทักษะป้องกัน-โต้กลับ เจาะเข้าวงในแล้วเสยหมัดไปที่คาง
- บาทาลูบพักตร์ : ตั้งรับด้วยแขนซ้าย แล้วสู้กลับด้วยการเตะเท้าขาว ไปที่ใบหน้าคู่แข่ง
- พระรามเหยียบลงกา : วิ่งไปแล้วเหยียบต้นขาซ้ายคู่แข่ง จากนั้นเตะหัวด้วยเท้าขวา
- จระเข้ฟาดหาง : ทักษะการโต้กลับ โดนเล็งส้นเท้าไปที่คือหรือหน้าท้อง
- พระรามสะกดทัพ : กระโดดเตะหน้า (เตะจากการยืนซ้าย + เตะด้วยเท้าขวาไปที่หน้า)
- พระรามเดินดง : โจมตี พุ่งไปข้างหน้า และใช้เข่าฟาด เน้นบริเวณศีรษะและหน้าติดต่อกัน 3 ครั้ง
- บั่นเศียรทศกัณฐ์ : กระโดดพร้อมงอเข่า และฟันศอก 2 ข้าง โดยมีเป้าหมายคือบริเวณคาง
- หักงวงไอยรา : ทำให้คู่แข่งอ่อนแรง ตอบโต้ด้วยการออกศอกไปที่ต้นขา
- หิรัญม้วนแผ่นดิน : ฟันเข่าหรือเตะด้านใน แล้วตามด้วยฟันศอกไปที่ข้างหลัง
- ฤๅษีบดยา : เหยียบเข่าขวาคู่แข่ง ยกตัวขึ้น วางเท้าขวาบนไหล่ซ้าย แล้วฟันศอกลงที่ศีรษะ
ที่มา: 10 Powerful Techniques from Muay-Boran [2]
จากศาสตร์ต่อสู้ มวยโบราณ สู่หนังไทยโกอินเตอร์
นอกจากทักษะชื่อเรียกเฉพาะ ที่ทำให้คนจดจำ มวยโบราณ ได้ยิ่งขึ้น อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยผลักดัน มวยไทยโบราณไปสู่ทั่วโลก คือภาพยนตร์ “องค์บาก / Ong-Bak” หนังแจ้งเกิดของ “จาพนม / โทนี่ จา” โดยเฉพาะภาคแรก ที่แสดงให้เห็นถึง Muay Boran อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียดย่อของหนัง ดังนี้
- เข้าฉาย : วันที่ 31 มกราคม 2546
- ความยาวหนัง : 105 นาที
- ผู้กำกับ : ปรัชญา ปิ่นแก้ว
- บริษัทสร้าง : สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู
- นักแสดงนำ : เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา, พนม ยีรัมย์, ภุมวารี ยอดกมล, สุเชาว์ พงษ์วิไล, ชุมพร เทพพิทักษ์
- รางวัล : จาพนม นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สาขากังฟูซีนีม่า) จากงานประกาศรางวัล สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์
ส่วนเรื่องย่อ เล่าถึงหนุ่มบ้านหนองประดู่ “บุญทิ้ง” ที่ต้องตามหาเศียรพระองค์บาก ที่ถูกขโมยจากคนนอกหมู่บ้าน และได้พบกับ “แหล่ หรือ จอร์ท” รวมถึง “หมวยเล็ก” ซึ่งทั้ง 3 ต้องร่วมมือกัน นำเศียรพระกลับหมู่บ้านภายใน 7 วัน แถมยังเข้าไปพัวพัน กับเจ้าพ่อผิดกฎหมาย [3]
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมด ภาคที่ 1-3 สามารถรับชมต่อได้บนหลายแพลตฟอร์ม แนะนำเช่น Netflix, Movie trueid หรือ Prime video
เปรียบเทียบ มวยโบราณ VS มวยไทย ต่างกันหรือไม่
มวยคาดเชือก เป็นการสู้ดั้งเดิม ฝึกให้กับทหาร ไร้กติกา เน้นทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้ ส่วนมวยไทย ถูกปรับแต่งในยุคใหม่ มีการแข่งขันที่เป็นระบบ กติกา คะแนน ข้อบังคับ ส่วนข้อแตกต่างอื่นๆ สรุปได้ดังนี้
ความคล้ายกัน
- พิธีไหว้ครู รำมวยไทยก่อนต่อสู้ทุกครั้ง
- นักสู้จะพันข้อต่อมือด้วยเชือกป่าน “ชูอัก”
- การโจมตีคอมโบมากมาย เช่น อัปเปอร์คัต ฯลฯ
- การเตะหลากหลาย เช่น เตะวงเดือน, เตะเฉียง, เตะหน้า
- โจมตีด้วยเข่าในระยะใกล้ เช่น เข่าตรง เข่าระเบิด เป็นต้น
- ใช้เทคนิค Clinch เพื่อเข้าสู้หรือล็อก
- เป้าหมายหลักคือข้อต่อ และจุดกดหรือจุดอ่อน
ความต่างกัน
- มวยไทยมีท่าที่กระชับน้อยกว่า วางมัดแนวนอนไว้ระหว่างศีรษะ ส่วนมวยคาดเชือก วางหมัดไว้ตรงกับกลางหัว
- หากเทียบกับมวยไทย ท่าทางของมวยคาดเชือก จะต่ำและมีความกว้าง ซึ่งช่วยป้องกันจุดอ่อนได้ดี
- มวยคาดเชือก เน้นไปที่ขาและแขนคู่แข่ง เพื่อชะงักการเคลื่อนไหว มวยไทยมีศาสตร์อาวุธทั้ง 8 คือ หมัด 2, ศอก 2, เข่า 2 และเท้า 2
- มวยคาดเชือก โจมตีแบบรุนแรง เช่น ศอกลอย-เข่าลอย เพื่อเอาชนะ ในขณะที่มวยไทย ยกแรกจะเป็นการหยั่งเชิง แล้วค่อยหาจุดทำคะแนน
ที่มา: Muay-Boran VS Muay-Thai [4]
สรุป มวยโบราณ
มวยโบราณ หรือมวยคาดเชือก ต้นตำรับการต่อสู้ด้วย หมัด เข่า ศอก ซึ่งในสมัยก่อน ทหารสยามใช้เพื่อเอาตัวรอดในสงคราม ก่อนที่รัชกาลที่ 7 จะเป็นผู้พัฒนาสู่มวยไทย และขยายไปถึงเวทีใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นมวย MMA ซึ่งปัจจุบัน ถึงแม้จะเข้าสู่มวยยุคใหม่ แต่มวยไทยโบราณ ยังคงมีคนอนุรักษ์ไว้อยู่
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (June 27, 2024). Contemporary history. Retrieved from en.wikipedia
[2] Now Muay Thai. (July 25, 2023). 10 Powerful Techniques from Muay-Boran. Retrieved from nowmuaythai
[3] หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). (2004-2024). องค์บาก ONG-BAK. Retrieved from fapot
[4] Sinbi Muaythai. (2024). Muay-Boran VS Muay-Thai. Retrieved from sinbimuaythai