ปันจักสีลัต (Pencak silat) หรือกีฬาสีลัต เป็นหนึ่งในศาสตร์การต่อสู้ จากอินโดนีเซีย ที่มีรายชื่อ ในการแข่งขันกีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีเกมส์) อีกทั้งยังเป็นกีฬาทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO อีกด้วย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม มีข้อมูลต่อไปนี้
เจาะลึก ปันจักสีลัต กีฬานี้คืออะไร
ปันจักสีลัต เป็นการนำคำ 2 ความหมายมารวมกัน คำแรกคือ ปันจัก (Pencak) ในภาษาชวาแปลว่า การป้องกันตัวเอง ส่วนอีกคำคือ สีลัต (Silat) ในภาษามาเลย์แปลว่า ศิลปะ และได้ความหมายถึง ศิลปะการป้องกันตัวเอง ของคนมลายู
ไม่ว่าจะเป็น บรูไน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย รวมถึงจังหวัดภาคใต้ของไทย เช่น ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี, สตูล และสงขลา ซึ่งเป็นศาสตร์ต่อสู้รอบด้าน ทั้งเตะ ต่อย ขว้าง และการใช้อาวุธ
ประวัติ ปันจักสีลัต และการสู่สายตาโลก
เชื่อกันว่ากีฬาสีลัต แพร่กระจายมาจากเกาะสุมาตรา ไปยังภูมิอื่นในเอเชีย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 กระทั่งศตวรรษที่ 14 ผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลาม นำประเพณีนี้ สอนควบคู่ไปกับวิชาศาสนา
ต่อมาในยุคเปลี่ยนใหม่ ค.ศ. 1977 มีการเปิดตัว Padepokan เพื่อสอนความรู้ และทักษะของกีฬานี้ โดยอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต และนำไปสู่การเปิดตัวครั้งแรก ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 14 ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อปี 1987
จากนั้นในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการนำเสนอกีฬาสีลัตในหลายประเทศทั่ว 5 ทวีปใหญ่ และเริ่มจัดแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 1986 ณ กรุงเวียนนา ออสเตรเลีย และในปี 2002 สีลัตเป็นหนึ่งในกีฬาสาธิต ในรายการเอเชียนเกมส์ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ [1]
สหพันธ์เปอร์ซิลัต ปันจักสีลัต และบันทึกโลก
เปอร์ซิลัต (PERSILAT) หรือ International Pencak Silat Federation เป็นสหพันธ์โลก สำหรับกีฬาปันจัก สีลัต ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1980 กรุงจาการ์ตา และประกอบด้วยองค์กรจาก อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และบรูไน
ซึ่งมีหน้าที่ ควบคุม ติดตาม พัฒนา และจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้กำหนดกฎการแข่งขันสากล และจัดรายการชิงแชมป์โลก ที่มีขึ้นทุกๆ 2 หรือ 3 ปี [2] โดยมีทีมจากมากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม
นอกจากศิลปะการต่อสู้แง่ของกีฬา ปัน-จัก-สี-ลัต ยังมีความสำคัญ ในแง่ของศิลปะประเพณี ซึ่งเกี่ยวข้องท่วงท่า การเคลื่อนไหว ให้เข้ากับเสียงดนตรี ซึ่งถูกบันทึกไว้ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2019 โดยยูเนสโก ในลิสต์รายชื่อ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
สไตล์การเล่น ปันจักสีลัต มากกว่า 800 รูปแบบ
รูปแบบการเล่น ปันจักสีลัต เป็นชื่อที่ใช้อธิบาย ถึงศาสตร์การต่อสู้ มากกว่า 800 รูปแบบใน 13,000 เกาะของอินโด แต่มีประมาณ 150 รูปแบบ ที่ถูกยอมรับในประเทศ ซึ่งมีการใช้อาวุธต่างกัน เช่น ดาบ, หอก, กริช, กรงเล็บ เป็นต้น และในปัจจุบันที่แข่งขัน มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
4 รูปแบบการแข่ง ปันจักสีลัต ที่มีความนิยม
การต่อสู้ (Tanding)
- มีลักษณะร่ายรำตามศิลปะศิละ แล้วค่อยเข้าโจมตีคู่แข่ง หรือบางครั้ง จะมีการส่งเสียง และกระทืบเท้าดังๆ ซึ่งมีสิทธิ์ใช้เท้าดัน หรือมือฟาดคู่แข่งได้ หากฝ่ายไหนได้เสียงปรบมือดังกว่า เป็นฝ่ายชนะ
เดี่ยวปันจักลีลา (Tunggal)
- การแข่งประเภทเดี่ยว ที่มีกระบวนท่าเฉพาะ 100 ท่า เล่นโดยใช้มือเปล่า หรืออาวุธมือและกระบอง ต้องร่ายรำให้ถูกกระบวนท่า มีความชัดเจน ถึงจะได้รับคะแนน
คู่ปันจักลีลา (Ganda)
- นักกีฬาคู่ 2 คน ไม่มีข้อบังคับเรื่องท่วงท่า แข่งด้วยกระบวนการต่อสู้ ผสมกับท่าการป้องกันตัว โดยใช้มือหรือจำกัดอาวุธ 3 ชนิด คือ กระบอง, มีด และเลือกอื่นๆ เพิ่มได้อีกหนึ่งอัน
ทีมปันจักลีลา (Rega)
- แต่ละทีมประกอบด้วย 3 คน แข่งร่ายรำ 100 กระบวนท่า เล่นโดยใช้มือเปล่า หรืออาวุธชิ้นไหนก็ได้ เน้นท่ารำที่ถูกต้อง พร้อมเพรียง แข็งแรง รวมถึงการแสดงออกทางหน้าตา
ที่มา: ประเภทของกีฬาปันจักสีลัต [3]
ทัวร์นาเมนต์ ปันจักสีลัต และทัพนักกีฬาไทย
ทัวร์นาเมนต์ชิงแชมป์โลก หรือ World Pencak Silat Championships เป็นรายการใหญ่สุด ที่เริ่มจัดตั้งแต่ปี 1982 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ มีประเภทในเอเชียเป็นเจ้าภาพ รวมถึงประเทศไทย โดยมี 5 อันดับประเทศ ที่ครองเหรียญมากสุด ดังนี้
- อินโดนีเซีย : 71 ทอง 30 เงิน 32 ทองแดง = 133 เหรียญ
- เวียดนาม : 40 ทอง 27 เงิน 18 ทองแดง = 85 เหรียญ
- มาเลเซีย : 19 ทอง 15 เงิน 25 ทองแดง = 59 เหรียญ
- ประเทศไทย : 15 ทอง 11 เงิน 16 ทองแดง = 42 เหรียญ
- สิงคโปร์ : 14 ทอง 10 เงิน 22 ทองแดง = 46 เหรียญ
ส่วนอันดับเหรียญ 6-21 พร้อมกับรายการอื่นๆ สามารถอ่านต่อได้ที่ Wikipedia (International competitions) ส่วนชิงแชมป์โลกปีล่าสุด ครั้งที่ 19 ปี 2022 เมืองมะละกา มาเลเซีย ทัพนักกีฬาสีลัตไทย เก็บมาได้ 4 เหรียญทองจากประเภทลีลาคู่, ประเภทต่อสู้, โอเพ่นหญิง, รุ่น D ชาย
3 เหรียญเงิน จากรุ่น H ชาย, รุ่นโอเพ่นชาย, รุ่นไม่เกิน 44 กก. และ 7 ทองแดงจาก รุ่น E หญิง, รุ่น G หญิง, รุ่น A ชาย-หญิง, รุ่น I ชาย, รุ่นโอเพ่นหญิง, ลีลาเดี่ยวชาย [4]
สรุป ปันจักสีลัต
ปันจักสีลัต อีกหนึ่งศาสตร์การต่อสู้ ป้องกันตัว ที่ประกอบด้วยท่าร่ายรำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้ง อินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมถึงชาวมลายู เป็นกีฬาที่ใช้ทั้งการเตะต่อย และอาวุธหลายชนิด อีกทั้งยังถูกยอมรับ ในฐานะมรดกทางวัฒนา พร้อมมีการผลักดัน สู่มหกรรมโอลิมปิกเกมส์
อ้างอิง
[1] Factsofindonesia.com. (April 5, 2017). History, Pencak Silat in the Eyes of the World. Retrieved from factsofindonesia
[2] European Pencak Silat Federation. (2024). PERSILAT. Retrieved from epsf
[3] K@pook! Hilight. (August 30, 2017). ประเภทของกีฬาปันจักสีลัต. Retrieved from hilight.kapook
[4] Station-Thai. (August 1, 2022). ปิดฉาก ปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ไทยฟอร์มเยี่ยม คว้า 4 ทอง 3 เงิน 7 ทองแดง. Retrieved from station-thai