ปลาแพะเผือก (Albino Corydoras) จัดเป็นกลุ่มปลาสวยงามราคาไม่แพง ซึ่งอยู่ในตระกูล Corydoras กินอาหารอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีนิสัยรักสงบมาก เข้ากันได้กับสายพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ดี และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก เพราะว่ามีสีเผือก ตาสีแสง ถือเป็นปลาอีกหนึ่งชนิด ที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับตู้ปลาได้
ซึ่งวันนี้ เราจะพาคนที่ชอบเลี้ยงปลาสวยงาม ไปทำความรู้จัก หรือข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปลาแพะสายพันธุ์นี้มากขึ้น ซึ่งได้แก่ ความเป็นมาหรือที่มา ภาพรวม ข้อมูลน่าสนใจ รวมถึงราคาต่างๆ เพื่อให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน ได้เอาพวกมันไปพิจารณากัน
ประวัติ ปลาแพะเผือก
ปลาแพะเผือก และมีชื่อทวินาม เรียกกันว่า Corydoras geoffroy (Lacépède, 1803) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ที่อยู่ในวงศ์ Callichthyidae และวงศ์ย่อย Corydoradinae โดยปกติแล้ว ปลาแพะสายพันธุ์นี้ จะมีพื้นที่จำกัด ในการแพร่กระจายมากกว่า ปลาชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน การกระจายพันธุ์ของวงศ์นี้ จะไม่มีในปานามา และพวกมันจะกระจายพันธุ์ ในทวีปอเมริกาใต้เป็นส่วนใหญ่ [1]
ราคา ปลาแพะเผือก
สำหรับราคาของปลาชนิดนี้ ในตลาดซื้อขายปลาในบ้านเรา โดยทั่วไปแล้วราคาขายปลา จะตกอยู่ที่ประมาณ 110 บาทขึ้นไป และจะมีการแบ่งขายเป็นแพ็ก หรือแบ่งขายเป็นเซตละ 2 ตัว / 5ตัว และ 12 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดไซส์ [2] และหากท่านใดสนใจแล้ว ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Albino Corydoras Catfish
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปลา
- วงจรชีวิต : โดยทั่วไปแล้วปลาชนิดนี้ มักจะพบได้ในลำธารขนาดเล็ก ริมฝั่งแม่น้ำขนาดใหญ่ ในหนองบึง และในบ่อน้ำ พวกมันมีถิ่นกำเนิด ในลำธารที่ไหลช้า และนิ่งสนิท รวมถึงแม่น้ำสายเล็กๆ ในอเมริกาใต้ ซึ่งน้ำตื้นและขุ่นมาก สายพันธุ์ส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำ หากินในทราย กรวด หรือเศษซาก ริมฝั่งและริมลำธารปกคลุมไปด้วย พืชพันธุ์ไม้น้ำที่ขึ้นอย่างหนาแน่น
- การกระจายพันธุ์ : พวกมันมีกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่ ในอเมริกาใต้ ซึ่งพบได้ตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตรินิแดด บริเวณลุ่มแม่น้ำริโอเดลาปลาตา แม่น้ำแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ซึ่งแม่ปลาวางไข่ครั้งละประมาณ 150-300 ฟอง ไข่ปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ
นิสัย ปลาแพะเผือก
สำหรับนิสัยของปลานั้น มีนิสัยรักสงบ และเข้ากับคนง่าย จึงเหมาะที่จะเลี้ยงไว้ในตู้ปลารวม ปลาชนิดนี้ไม่ได้ตั้งใจรบกวนปลาในตู้ตัวอื่น แม้ว่าการว่ายน้ำที่ดุร้ายของมัน อาจทำให้ขนของปลาที่บอบบางกว่า หรือปลาที่อาศัยอยู่ใต้น้ำอื่นๆ พันกันก็ตาม ไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้ร่วมกับปลาที่ดุร้าย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว มันจะชอบอยู่ตัวเดียว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการคุ้ยหากินตามพื้นตู้
และปลาแพะสายพันธุ์นี้ ชอบอยู่ร่วมกับปลาชนิดเดียวกัน และแนะนำให้เลี้ยงปลาไว้เป็นกลุ่ม อย่างน้อย 6 ตัว ยิ่งเลี้ยงปลาไว้มากเท่าไร ปลาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมโดยรวมดีตาม การดูแลปลาให้เหมาะสมที่สุด อาจจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน
ลักษณะ ปลาแพะเผือก
โดยทั่วไปของปลาชนิดนี้ มีความโดดเด่นด้วยสีเผือก ที่เน้นให้เห็นเด่นชัด ดวงตาสีแดง มีลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ด เป็นแผ่นซ้อนกัน ลำตัวมีลักษณะกลมป้อมเบนข้าง ทางด้านท้ายมีครีบ 8 ครีบ ที่ครีบอกมีเงี่ยงแข็งข้างละเงี่ยง ใต้ปากของมันมีหนวดเล็กสองคู่ พื้นลำตัวปกติแล้ว เป็นสีขาวอมชมพู และครีบแต่ละครีบมีสีค่อนข้างโปร่งใส ขนาดตัวยาวประมาณ 2.5-12 เซนติเมตร [3]
ข้อมูลเชิงลึกสายพันธุ์ แพะเผือก
- โดเมน : Eukaryota
- อาณาจักร : Animalia
- เผ่า : Corydoradini
- ไฟลัม : Chordata
- ชั้น : Actinopterygii
- อันดับ : Siluriformes
- ที่มา : สามารถพบได้ในทวีปอเมริกาใต้
- สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 2.5 – 12 เซนติเมตร (0.98 – 4.72 นิ้ว) / อายุขัย 3 – 5 ปี
- ระดับการดูแล : ง่าย
- คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 6.5 – 8.0
- อุณหภูมิ : อุณหภูมิเหมาะสมให้กับปลา อยู่ที่ 21 – 27 องศา (69.8 – 80.6°F)
- การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่
- เพื่อนร่วมตู้ : เพื่อนร่วมตู้ได้ดี เมื่อมีรูปร่างเท่ากัน หรือมีขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น ปลาเตตร้า, ปลาดานิโอ้, ปลาหางนกยูง หรือ ปลาหมูกระโดงสูง เป็นต้น
สรุป ปลาแพะเผือก “Albino Corydoras”
สรุป ปลาสายพันธุ์แพะเผือก เป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่ร่วมกับปลาแพะเดียวกัน ควรเลี้ยงปลาไว้เป็นฝูงอย่างน้อย 6 ตัวขึ้นไป สีสันที่น่าดึงดูดใจ ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาในตู้ปลา ปลาชนิดนี้มีลำตัวสีชมพูอมส้มอ่อน และดวงตาสีแดงที่สะดุดตา ทำให้พวกมันเป็นปลาที่สวยงาม ดูแล้วสะดุดตา สามารถเลี้ยงพวกมันเอาไว้ได้ตู้ปลาทุกตู้
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (September 30, 2024). Corydoras. Retrieved from wikipedia
[2] Shop.line. ปลาแพะเผือก. Retrieved from shop.line
[3] Aquadiction. (2018-2024). What to Know About German Blue Ram. Retrieved from aquadiction