ปลาออสก้าร์ลายเสือ (Tiger Oscar) จัดเป็นกลุ่มปลาราคาไม่แพงมาก เช่นเดียวกันกับ ปลาอัลลิเกเตอร์ สำหรับปลาชนิดนี้ อยู่ในสกุล Astronotus เป็นปลาที่รู้จักได้ทั่วไป จากลวดลายที่เป็นสีน้ำตาลเข้มและส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ เป็นปลาเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และเป็นที่นิยมในตู้ปลาน้ำจืด อีกด้วย
โดยบทความนี้ เราจะพาคนที่ชอบเลี้ยงปลาสวยงาม ไปทำความรู้จัก หรือข้อมูลขั้นต้นเกี่ยวกับปลาสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ที่มาหรือเรื่องราว ภาพรวม พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้คนเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหลาย ได้เข้ามาอ่านกัน
ประวัติ ปลาออสก้าร์ลายเสือ
ปลาออสก้าร์ลายเสือ และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Astronotus ocellatus (Agassiz, 1831) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นส่วนใหญ่ ปลาออสการ์นั้น เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น มันจะพบวางขายกันในตลาดสด โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu
นอกจากนี้ ปลาสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะสัตว์น้ำสวยงาม ณ ตอนนี้ ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
หลุยส์ อากาซิส ได้ระบุสายพันธุ์นี้ไว้ เมื่อในปี 1831 ว่าเป็น Lobotes ocellatus เนื่องจากเขาเข้าใจผิดว่าสายพันธุ์นี้ ว่าเป็นสัตว์ทะเล ต่อมามีงานวิจัยที่จัดให้สายพันธุ์นี้เป็นสกุล Astronotus แถมยังมีชื่อเรียกกันอีกหลายชื่อ ซึ่งได้แก่ Acara compressus, Acara hyposticta, Astronotus ocellatus zebra และ Astronotus orbiculatus [1]
ราคา ปลาออสก้าร์ลายเสือ
สำหรับราคาของปลาชนิดนี้ มีการขายในตลาดสวยงามเมืองไทยนั้น โดยทั่วไปแล้วราคาขายปลา จะตกอยู่ที่ประมาณ 240 บาทขึ้นไป และจะมีการแบ่งขายเป็นชุด หรือแบ่งขายแพ็กละ 2 ตัว และ 5 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดไซส์ [2] และหากท่านใดสนใจแล้ว ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Oscar Red Tiger
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปลา
- วงจรชีวิต : สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งได้แก่ กินกุ้ง หอยทาก แมลง และตัวอ่อนแมลง รวมถึงผลไม้ และถั่วตามฤดูกาล อีกด้วย ซึ่งพวกมันจะหากิน ในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้น โคลนปนทราย หรือกรวดทราย
- การกระจายพันธุ์ : พวกมันผสมพันธุ์ได้ง่าย ตามลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำริโอเดลาปลาตา ในภูมิภาคอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา รวมถึงอาร์เจนตินา เป็นต้น ตัวเมียตัวเล็กจะวางไข่ได้ประมาณ 300–500 ฟอง ในขณะที่ออสการ์ตัวเมียขนาดใหญ่กว่า สามารถวางไข่ได้ราว 2,500–3,000 ฟอง
นิสัย ปลาออสก้าร์ลายเสือ
สำหรับนิสัยของปลานั้น มีนิสัยก้าวร้าว และค่อนข้างหวงถิ่นมาก อย่างไรก็ตามนิสัยเหล่านี้จะแสดง เมื่อพวกมันอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด หรือถูกเลี้ยงร่วมกับเพื่อนร่วมตู้ ที่ไม่เหมาะสม แต่ถ้าปลาชนิดนี้อยู่ได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่ ทำให้พวกมันรู้สึกสบายใจ พวกมันจะแสดงพฤติกรรม ที่ค่อนข้างอ่อนโยนมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
รูปร่าง ปลาออสก้าร์ลายเสือ
โดยปลาชนิดนี้มีรูปร่างแบนข้าง และลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มปนเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือก และด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดง หรือส้มจางๆ ที่ด้านบนของคอดหาง มีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำ
แม้ว่าคุณอาจเห็นปลาวัยอ่อน ในร้านขายสัตว์เลี้ยง ที่มีความยาวประมาณ 2–3 นิ้ว (5–8 ซม.) แต่ปลาที่โตเต็มวัยมักจะยาว 12 ถึง 14 นิ้ว (30–35 ซม.) หรือมากกว่านั้น [3]
ภาพรวมสายพันธุ์ ออสก้าร์ลายเสือ
- โดเมน : Eukaryota
- อาณาจักร : Animalia
- ไฟลัม : Chordata
- ชั้น : Actinopterygii
- อันดับ : Cichliformes
- สปีชีส์: A. ocellatus
- ที่มา : สามารถพบได้ในทวีปอเมริกาใต้
- สัดส่วน : ตัวเล็กความยาวได้สูงสุด 12 – 14 นิ้ว (30.48 – 35.56 เซนติเมตร) / อายุขัย 10 – 15 ปี
- ระดับการเอาใจใส่ : ปานกลาง
- คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 6.0 – 7.5
- อุณหภูมิ : อุณหภูมิเหมาะสมให้กับปลา อยู่ที่ 22 – 27 องศา (71.6 – 80.6°F)
- การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่
สรุป ปลาออสก้าร์ลายเสือ “Tiger Oscar”
สรุป ปลาสายพันธุ์ ออสก้าร์ลายเสือ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด ที่มีรูปร่างและสีสันน่าสนใจ รวมถึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนลำตัวของมันนั้น ปกคลุมได้ด้วยเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีบนลำตัว อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ปกติแล้วจะเป็นสีน้ำตาล หรือส้มเป็นหลัก ซึ่งปลาชนิดนี้จะมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย และหวงอาณาเขต
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (August 15, 2024). Oscar (fish). Retrieved from wikipedia
[2] Shop.line. ปลาออสก้าร์ดำลายเสือ (Tiger Oscar) ขายเซทละ 2ตัว/5ตัว. Retrieved from shop.line
[3] The sprucepets. (December 28, 2021). Fish Species Profile. Retrieved from thesprucepets