ว่าด้วยเรื่องตำนาน ปลาดุกโอนามาสึ (Ōnamazu) หรือนามาสึ เป็นปลายักษ์ใต้เกาะญี่ปุ่น ถูกปกป้องโดยเทพเจ้าทาเคมิคาซึจิ เมื่อมันเคลื่อนไหว เชื่อว่าทำให้เกิดแผ่นดินไหว ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งต้นกำเนิด คำอธิบาย และการนำเสนอในยุคใหม่ ศึกษาต่อด้านล่าง
ความหมายของ ปลาดุกโอนามาสึ แปลว่าอะไร
ปลาดุกโอนามาสึ (ナマズ) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ปลาดุก” บางครั้งถูกเรียกว่า “จิชิน นามาสึ, จิชิน โนอุโอ” หมายถึงปลาแผ่นดินไหว หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “นามิโนะคาวะซามะ” สื่อถึงการเชื่อมโยงทางน้ำ ส่วนชื่อเรียกว่า “นามาสึโนะคามิ” แปลว่า เทพเจ้าปลาดุก
ตำนาน ปลาดุกโอนามาสึ คืออะไร
จุดกำเนิดของปลาดุกยักษ์ญี่ปุ่น มาจากแนวคิดที่ว่า ปลาดุกชอบขุดรูลงไปในโคลน เมื่อมีชาวประมงสังเกตเห็น ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวในอันเซอิเอโดะ เมื่อปี ค.ศ. 1855 ทำให้พวกเขาเข้าใจว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกัน
จากนั้นตำนานเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากเรื่องเล่าของชายคนหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าปลาดุกสามารถทำนาย เหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ โดยเล่ากันว่า เทพเจ้าทาเคมิคาซึจิ ต้องออกจากเมือง จึงขอให้เทพเจ้าเอบิสึ ดูแลนามาสึแทนเขา แต่เมื่อเอบิสึเผลอหลับ ปลาดุกก็ดิ้นไปมา จนเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ชาวเอโดะ มีทั้งคนกลัวและหันมาบูชาปลาดุก ในฐานะผู้แจกจ่ายความมั่งคั่ง หรือวีรบุรุษแรงงาน เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้คนชนชั้นสูง ต้องนำเงินบางส่วนไปซ่อมแซมบ้านเมือง ทำให้ชนชั้นล่างมีงานทำ และนิยมติดภาพแกะสลักที่เรียกว่า “นามาสึ-เอะ” ไว้บนเพดานบ้าน
ที่มา: The Origins of the Namazu Myth, Namazu as Societal Redeemers [1]
เรื่องราวของ ปลาดุกโอนามาสึ ใครเป็นคนปราบ
นอกจากเป็นเจ้าของปลาดุกยักษ์ ทาเคมิคาซึจิยังถูกรู้จักว่าเป็น วีรบุรุษผู้ปราบมันอีกด้วย โดยเขากำราบมันด้วยการ ตรึงหัวไว้กับก้อนหินศักดิ์สิทธิ์ คาเนเมอิชิ ซึ่งปัจจุบันหินนี้ เชื่อว่าตั้งอยู่ในศาลเจ้าคาชิมะจิงกู จังหวัดอิบารากิ เมืองโตเกียว (เอโดะสมัยก่อน)
อย่างไรก็ตาม เทพเจ้าสายฟ้าญี่ปุ่น ไม่ได้ปราบปลาดุกได้ตลอดเวลา สืบเนื่องจากศิลปะบางภาพ แสดงให้เห็นถึงความหวาดหวั่นของเทพเจ้า ที่เสียสมาธิแล้วทำให้ปลาดุกเคลื่อนที่ได้ ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ถูกมองว่าดุร้ายเสมอไป เพราะภาพพิมพ์จำนวนมาก วาดปลาดุกอยู่ร่วมกับไดโกกุเต็น 1 ใน 7 เทพเจ้าโชคลาภของญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ปลานามาสึยังเกี่ยวกับ สัญลักษณ์หยิน-หยาง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เชื่อว่าสมดุลของจักรวาลต้องฟื้นฟู ชาวเมืองเอโดะจึงเชื่อว่า เกิดขึ้นจากปัญหาในสมัยบาคุมัตสึ จนทำให้รัฐบาลโชกุนถึงจุดจบ แล้วจักรพรรดิกลับคืนตำแหน่งปกครองประเทศ
ที่มา: Namazu subdued by kami Takemikazuchi [2]
ปลาดุกโอนามาสึ ทำให้แผ่นดินไหวได้จริงหรือ
จากการสังเกต ปลาดุกโอนามาสึ ของ 2 นักธรณีวิทยาชาวญี่ปุ่นชื่อ โนโบรุ อาเบะ และชินกิชิ ฮาไต ซึ่งบันทึกไว้ว่า ปลาดุกสามารถเตือนแผ่นดินไหวได้จริงๆ เพราะโดยทั่วไปแล้ว มันเป็นสัตว์นิสัยนิ่งและเฉื่อยชา เมื่อพวกเขาเคาะโต๊ะที่ตู้ปลาตั้งอยู่ ปลาไม่ตอบเสนอ
แต่พวกมันจะตอบสนองต่อการแตะน้ำ ก่อนเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 6 ชั่วโมง โดยนับจากภัยพิบัติ 178 ครั้งที่เกิดขึ้น เชื่อว่าปลาดุกทำนายแม่นถึง 80% และด้วยการวิจัยของโนโบรุ ส่งผลให้มีการทดสอบอีกหลายครั้ง นักวิจัยบางคนเชื่อว่า ปลาดุกมีความไวต่อการเปลี่ยนของสนามไฟฟ้า ทำให้คาดการณ์แผ่นดินไหวได้
พลัง ปลาดุกโอนามาสึ มีลักษณะเป็นอย่างไร
พลังและความสามารถ
- การเคลื่อนตัวใต้ดิน ทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือน
- สามารถควบคุมการไหลของน้ำได้
- มีศักยภาพในการทำลายล้าง
- เป็นปลาดุกเทพเจ้า เหนือธรรมชาติ
ลักษณะที่บอกเล่า
- ขนาดใหญ่ มีพลังมหาศาล
- ลำตัวยาวและเรียว
- ผิวหนังเป็นเกล็ดหนา มันวาว คล้ายงู
- หนวดยาวล้อมใบหน้า
- ตาแดง เรืองแสง มองทะลุความมืดได้
ที่มา: Physical Traits, Powers and Apilues [3]
นำเสนอ ปลาดุกโอนามาสึ สมัยใหม่เป็นแนวไหน
อาทิเช่น
- กิจกรรมเตรียมความพร้อม สำหรับแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น เช่น ไอคอน Earthquake Early Warning (EEW), แอปพลิเคชันมือถือ Yurekuru Call เป็นต้น
- ชื่อเพลง Namazu ในอัลบั้ม Fauna เปิดตัวของศิลปินชาวเดนมาร์ก สามารถคลิกฟังได้ที่ Youtube : Oh Land
- ในเกมแอ็กชัน Secret of Mana คาถาแผ่นดินไหว ใช้ไอคอนเป็นรูปปลาดุก
- ในเกมแนวแอ็กชัน The Legend of Zelda: A Link to the Past ตัวละครปลาดุก เป็นผู้มอบเหรียญให้กับตัวละคร Link
- ตัวบอสในวิดีโอเกม Lufia II อิงนิสัยมาจากนามาสึ
- โปเกมอนเจเนอเรชัน 3 ตัวชื่อว่าวิคาซ หรือนามาซุน มีพลังแผ่นดินไหว
- ตอนหนึ่งชื่อ Cold-Blooded Horror ของสารคดีสัตว์อย่าง River Monsters นำเสนอนามาสึ
- ตำนานถูกเล่าบางส่วน โดนตัวละครเคนจาคู ตอนที่ 133 ของการ์ตูน Jujutsu Kaisen
ที่มา: Modern use [4]
สรุป ปลาดุกโอนามาสึ (大鯰)
(大鯰) สัตว์น้ำจืดมีหนวดใต้ดิน ผู้แจ้งเตือนแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ที่เชื่อว่าเป็นปลาของ เทพเจ้าสายฟ้าและเทพเจ้าแห่งดาบ ก่อนจะถูกกำราบไว้กับหินคาเนเมอิชิ ซึ่งปัจจุบันสามารถเที่ยวชมได้ที่ ศาลเจ้าคาชิมะในอิบารากิ หนึ่งในศาลที่เก่าแก่สุดของญี่ปุ่น
อ้างอิง
[1] A Little Bit Human. (June 17, 2022). The Origins of the Namazu Myth, Namazu as Societal Redeemers. Retrieved from alittlebithuman
[2] Kanpai. (2005-2025). Namazu subdued by kami Takemikazuchi. Retrieved from kanpai-japan
[3] Mythlok. (2021-2025). Physical Traits, Powers and Apilues. Retrieved from mythlok
[4] Wikipedia. (November 10, 2024). Modern use. Retrieved from en.wikipedia