ต้นอ่อนทานตะวัน พืชที่หลายคนต้องเคยเห็น ผ่านตากันมาบ้าง วางจำหน่ายตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซูปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงในร้านชาบู หมูกระทะหลายแห่ง แถมยังกินง่าย และมีราคาถูก เรารวมสาระความรู้เกี่ยวกับต้นอ่อน ทั้งถิ่นเพาะปลูก สารอาหาร วิธีการปลูกเองในบ้าน และการทำเมนูแสนอร่อย
รู้จักกับ ต้นอ่อนทานตะวัน พืชพื้นเมือง
ต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprouts) ต้นอ่อนของทานตะวัน อายุเพียง 1 สัปดาห์ พืชชนิดล้มลุกขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae พืชท้องถิ่นของทวีปอเมริกากลาง ออกดอกในช่วงฤดูร้อน โดยออกดอกหันตามทิศทางดวงอาทิตย์ เกิดจากการหมุนเวียนของแสง สามารถหมุนได้ในระยะตาดอก 180 องศา
ลักษณะของทานตะวัน จะมีลำต้นตั้งตรง และมีขนหยาบ โดยมีความสูงประมาณ 3 เมตร ซึ่งสามารถสูงได้มากถึง 9.17 เมตร หัวดอกทานตะวันกว้าง 7.5 – 12.5 เซนติเมตร ใบมีความกว้าง และเรียงสลับกันอย่างสวยงาม ส่วนใบที่อยู่ใกล้กับโคนต้น มักเป็นใบรูปหัวใจ และมีขนาดใหญ่ที่สุด [1]
ถิ่นเพาะปลูก และการกระจายพันธุ์
ต้นทานตะวัน ได้รับการเพาะปลูกครั้งแรก ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 นิยมนำมาปรุงอาหาร และการทานน้ำมันทานตะวัน หลังจากนั้นมีการผลิต ในระดับอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น จึงย้ายไปยังทวีปยุโรปตะวันออก โดยทางรัสเซีย และยูเครน ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ของผลผลิตจากทั่วโลก
แหล่งสารอาหารจากต้นอ่อน ทานตะวัน
สารอาหารภายในต้นอ่อน ทานตะวัน เป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้
- ใยอาหาร : ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายดี
- โปรตีน : โปรตีนมากกว่าผักกาดเขียว 2 เท่า ช่วยบำรุงสมอง สายตา ผิวพรรณ และชะลอความแก่
- ธาตุเหล็ก : ธาตุเหล็กสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี
- กรดลิโนเลอิก : มีกรดในปริมาณมาก ช่วยบำรุงสมองและกระดูก
- วิตามิน : แหล่งรวมวิตามิน A (มากกว่าน้ำมันเมล็ดข้าวโพด และเมล็ดถั่วเหลือง 3 เท่า), E, D, K, B1, B2, B6, และ โอเมกา 3, 6, 9 ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสมอง เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ป้องกันโรคสมองเสื่อม และช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง
ที่มา: ต้นอ่อนทานตะวันแหล่งสารอาหารสุขภาพ [2]
ต้นอ่อนทานตะวัน พืชเพื่อสุขภาพประโยชน์เพียบ
ต้นอ่อนชนิด พืชสมุนไพร ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดี กับร่างกายอย่างมาก แถมมีราคาถูกเพียง 15 – 20 บาท / 100 กรัม โดยมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า GABA (Gamma Aminobotyric Acid) สารที่มีคุณสมบัติ ช่วยป้องกันโรคมากมาย การรับประทานจึงเหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ และคนรักสุขภาพ
ต้นอ่อนทานตะวัน ปลูกง่ายทำเองได้ที่บ้าน
พืชที่สามารถปลูกกินเองได้ที่บ้าน โดยมีวิธีการไม่ยุ่งยาก รวมวิธีการเพาะต้นอ่อนจนเจริญเติบโต ดังนี้
- นำเมล็ดต้นทานตะวัน ตากแดดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำ 4 – 6 ชั่วโมง
- ครบกำหนดตามเวลาแล้ว นำกระดาษทิชชูเปียกน้ำ ห่อเมล็ดไว้เพิ่มความชุ่มชื้น ในระยะเวลา 20 – 24 ชั่วโมง หรือรอจนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา
- เตรียมดินร่วนพอเหมาะ รดน้ำให้ชุ่มหน้าดิน และนำเมล็ดที่เพาะไว้ใส่ลงดิน
- รอเวลาครบ 7 – 11 วัน สามารถเก็บเกี่ยวต้นอ่อนได้ทันที
ข้อแนะนำ : ควรรดน้ำ 2 ครั้ง / วัน (เช้าและเย็น) ควรตั้งกระถางหรือแปลงปลูก ในพื้นที่มีแสงแดดส่องถึงแบบรำไร หรือใช้ถาดทึบมาวางคลุมไว้ได้ เพื่อไม่ให้โดดแดดเยอะเกินไป แต่ถ้าหากเริ่มมีใบอ่อนสีเขียวงอก ให้นำต้นมาวางไว้ ในบริเวณที่รับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง [3]
เมนูอร่อยเต็มคำ กับต้นอ่อน ทานตะวัน
สำหรับใครที่ยังคิดเมนูไม่ออก ต้นอ่อนของทานตะวัน สามารถทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งยังให้ประโยชน์แก่ร่างกาย และขอบอกว่าใช้แทนถั่วงอกได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเมนู ผัดต้นอ่อนทานตะวัน ยำต้นอ่อนทานตะวัน ไข่เจียวต้นอ่อนทานตะวัน แกงส้มต้นอ่อนทานตะวัน และ สลัดต้นอ่อนทานตะวัน
ควรรับประทาน ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากกินมากไปอาจอ้วนได้ เนื่องจากต้นอ่อน มีปริมาณแคลอรีสูง โดยต้นอ่อนของทานตะวัน ¼ ถ้วย มีปริมาณพลังงานมากถึง 190 กิโลแคลอรี ดังนั้นควรทานในปริมาณที่พอดี จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง และไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
สรุป ต้นอ่อนทานตะวัน “Sunflower Sprouts”
ต้นอ่อนทานตะวัน ยอดอ่อนจากต้นทานตะวัน โดยเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ ของทวีปอเมริกา นิยมปลูกเพื่อรับประทาน ปรุงแต่งอาหาร จากต้นอ่อนและเมล็ด เหมือนกับ เมล็ดกัญชง สามารถเพาะปลูกได้ง่าย และมีสารอาหารมากมาย ทั้งแหล่งโปรตีน ใยอาหาร วิตามิน ล้วนเป็นประโยชน์ดีต่อสุขภาพ
อ้างอิง
[1] wikipedia. (October 2, 2024). Common Sunflower. Retrieved from wikipedia
[2] sdtc. (December 29, 2014). ต้นอ่อนทานตะวันแหล่งสารอาหารสุขภาพ. Retrieved from sdtc
[3] thairath. (October 9, 2023). แจก “วิธีปลูกต้นอ่อนทานตะวัน”. Retrieved from thairath