ขมิ้นชัน พืชพรรณสมุนไพรสีเหลือง ที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ ทั้งใช้บริโภคหรือเป็นยาใช้ภายนอก หาซื้อสะดวกตามตลาดทั่วไป ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เหง้าสด เหง้าแห้ง และเหง้าผง รวมถึงประกอบอาหารหลายเมนู ถูกใจคนใต้ชอบรับประทานอย่างมาก
ทำความรู้จักสมุนไพรสีสวยงาม ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน (Turmeric) พืชดอกชนิดไม้ล้มลุกยืนต้น แบบมีเหง้า จัดอยู่ในวงศ์ขิง Zingiberaceae แหล่งกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย และทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตในป่าเขตร้อน มีมากกว่า 40 – 45 สายพันธุ์ ถูกนำมาใช้เป็นสีย้อมบนเส้นใย ยาแผนโบราณจีน และยาพื้นบ้าน [1]
ความเป็นมาการค้นพบ ขมิ้นชัน
ตามประวัติศาสตร์ขมิ้น ถูกค้นพบที่ฟาร์มานา แหล่งโบราณคดี ของประเทศอินเดีย โดยมีอายุระหว่าง 2,600 – 2,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช และพบอยู่ในหลุมฝังศพ ของพ่อค้าจากเมืองเมกิดโด ของประเทศอิสราเอล มีอายุตั้งแต่สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืช สำหรับย้อมสีในตำราการแพทย์
ลักษณะของดอกและผล
พืชล้มลุกยืนต้น โดยมีขนาดความสูง 1 เมตร เหง้ารูปทรงกระบอก สีเหลืองหรือสีส้ม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก และมีกลิ่นค่อนข้างหอม ส่วนใบเรียงสลับกันแบบ 2 แถว แผ่นใบเดี่ยวมีความยาว 76 – 115 เซนติเมตร ใบมีความกว้าง 38 – 45 เซนติเมตร และช่อดอกมีใบประดับ สีขาวหรือสีเขียว บางครั้งอาจมีสีแดงอมม่วง
ดอกต้นขมิ้น ส่วนมากจะมีใบประดับสีเขียวอ่อน ปลายมน มักออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม มีกลีบดอกสีเหลืองสด กลีบดอกยาวประมาณ 3 เซนติเมตร และปลายด้านบนมีหนามอ่อน ในขณะที่กลีบดอก จะมีขนาดใหญ่มากกว่ากลีบข้างของทั้ง 2 กลีบ
ขมิ้นชัน วัตถุดิบนิยมทำอาหารใต้
ขมิ้นชันหรือเรียกว่าขมิ้น ผักพื้นถิ่น ที่นำมาประกอบอาหาร ใช้ส่วนของเหง้าใต้ดิน มีสีเหลือง ช่วยดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมนูปลา สำหรับทำเมนูอาหาร พริกแกงใต้ แกงเหลือง ต้มขมิ้น ปลาทอดขมิ้น ทั้งยังใช้ขมิ้นเป็นแบบผง ส่วนประกอบของผงกะหรี่ นิยมใช้กับเมนูอาหารอินเดีย
รวมสารสำคัญภายใน ขมิ้นชัน
สารสำคัญมากมายจากขมิ้นชัน บทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย กินแล้วมีประโยชน์ดังนี้
- สารต้านการอักเสบ : แบบตามธรรมชาติ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยับยั้งการเกิดโรคเรื้อรัง
- สารต้านอนุมูลอิสระ : ลดความเสื่อมโทรมของเซลล์ในร่างกาย
- สารเคอร์คูมินอยด์ : เพิ่มสารสื่อประสาทในสมองอย่าง Serotonin และ Dopamine จากการทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 60 คน พบว่าหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- สารเคลือบกระเพาะอาหาร : ออกฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลดการอักเสบ
ที่มา: ขมิ้นชันกับประโยชน์ดีๆ ถึง 8 ข้อ [2]
แนวทางการกินเพื่อสุขภาพ
การรับประทานขมิ้น ตามการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยควรกินตามเวลาและตามการรักษา ดังต่อไปนี้
- เวลา 03.00 – 05.00 น. : ช่วงการทำงานของปอด จะช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็งปากมดลูก เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางผิวหนัง และบรรเทาอาการภูมิแพ้ หรือหายใจไม่สะดวก
- เวลา 05.00 – 07.00 น. : ช่วงการทำงานของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ปรับสมดุลการขับถ่ายให้เป็นปกติ ป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ แนะนำหากกินขมิ้นพร้อมกับ กรีกโยเกิร์ต น้ำผึ้งดอกไม้ป่า นมสด มะนาว จะช่วยล้างผนังลำไส้ได้อย่างสะอาด
- เวลา 07.00 - 09.00 น. : ช่วงการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ปวดเข่า ปวดขา ช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคความจำเสื่อม
- เวลา 09.00 - 11.00 น. : ช่วงการทำงานของม้าม ช่วยแก้ปัญหาน้ำเหลืองเสีย แผลบริเวณปาก และช่วยบรรเทาอาการจากโรคเบาหวาน โรคเกาท์ และโรคอ้วนหรือผอม
- เวลา 11.00 - 13.00 น. : ช่วงการทำงานของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
- เวลา 15.00 - 17.00 น. : ช่วงการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และช่วยให้เหงื่อออก ขับสารพิษออกจากร่างกาย
- เวลาหลัง 17.00 น. - เวลาเข้านอน : ช่วยให้มีความจำดี ตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย ขับถ่ายสะดวก
ที่มา: ขมิ้น สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน [3]
สรุป ขมิ้นชัน “Turmeric”
ขมิ้นชัน พืชดอกชนิดมีเหง้าใต้ดิน ถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นสีย้อมเส้นใย ยาแผนโบราณของจีน ปัจจุบันนิยมใช้เหง้าใต้ดิน นำมาประกอบอาหารใต้ ให้รสชาติอร่อย และมีสีเหลือง กินตามช่วงเวลายิ่งมีประโยชน์
อ้างอิง
[1] wikipedia. (October 17, 2024). Turmeric. Retrieved from wikipedia
[2] megawecare. (2023-2024). ขมิ้นชันกับประโยชน์ดีๆ ถึง 8 ข้อ. Retrieved from megawecare
[3] opsmoac. (November 10, 2020). ขมิ้น สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน. Retrieved from opsmoac